หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พุทธวิธีเพื่อการหัดตาย


     การหัดตายที่ปราชญ์ในพระพุทธศาสนาท่านแนะนำ คือการหัดอบรมความคิด สมมติว่าตนเองในขณะนั้นปราศจากชีวิตแล้ว ตายแล้ว เช่นเดียวกับผู้ที่ตายแล้วจริงทั้งหลาย
.........
ฝึกอบรมความคิดว่าเมื่อปราศจากชีวิตแล้ว สภาพร่างกายของตนที่เคยเคลื่อนไหว จักทอดนิ่ง
........
ถูกทอดทิ้งอ้างว้างตามลำพัง หลังปราศจากชีวิต
........
ทรัพย์สมบัติที่สะสมไว้ ในขณะมีชีวิต สิ้นสุดลงแล้วพร้อมกับลมหายใจ และชีวิตสิ้นสุด
........
มองให้เห็นสภาพร่างกายที่ตายแล้ว
.......
.......
.......
ผู้มีปัญญา มีความฉลาด มีสัมมาทิฐิ จักมุ่งเพียรละกิเลส ก่อนความตายมาถึง
.......
***ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนถูกความตายบังคับ***  
     ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา คือผู้มีปัญญา สอนให้เร่งอบรมมรณสติ นึกถึงความตาย หัดตายก่อนตายจริง
     จุดมุ่งหมายสำคัญของการหัดตายก็คือ เพื่อให้ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนถูกความตายบังคับให้ปล่อย
      กิเลสเครื่องเศร้าหมอง ตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากอุปาทานยึดมั่นทั้งหลายทั้งปวง หัดใจให้ปล่อยเสียพร้อมกับหัดตาย 
      สิ่งอันใดเป็นเหตุให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้เกิดตัณหา อุปาทาน หัดละเสีย ปล่อยเสียพร้อมกับหัดตาย ซึ่งจะมาถึงเราทุกคนจริงได้ทุกวินาที
........
( จากหนังสือ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก    ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา )
..........

อาลัยเพื่อนผู้จากไป วินัย พานะกิจ


กำหนดสวดพระอภิธรรม
ตั้งแต่ ๒๘ กุมภาพันธุ์ ๕๘ ถึง ๗ มีนาคม ๕๘
ณ บ้านเลขที่ ๙๑ หมู่ ๒ ต.วัดหลวง
อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
พระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๕๐๐ น.
ณ เมรุวัดศรีมงคล อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
******








******
๘ มีนาคม ๒๕๕๘..โพนพิสัย..
.......
อาจารย์สีชมภู พานะกิจ รอต้อนรับ
เล่าเหตุการณ์วันที่เพื่อนจากไป...


ร่วมงานสวดพระอภิธรรมที่บ้านวันสุดท้าย..

*****
*****
...ส่งเพื่อนได้แค่ตรงนี้เท่านั้น...


*****

ตัวแทนเหล่า รุ่น ๐๙ ร่วมทอดผ้าบังสุกุล


*****


*****

..เก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป..

*****

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กฏธรรมดา...


****
....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันนี้เถิด ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยว ๆ ยาน ๆ มีอาการทรุดโทรมให้เห็นอย่างเด่นชัดเหมือนเกวียนที่ชำรุดแล้วชำรุดอีก ได้อาศัยแต่ไม้ไผ่มาซ่อมไว้ผูกกระหนาบค้ำไว้จะยืนนานไปสักเท่าไร การแตกสลายย่อมจะมาถึงเข้าสักวันหนึ่ง
     ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่งเถิด อย่าคิดยึดสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย แม้ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น  "  (พุทธพจน์)
****
(จากหนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
****

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พรหมจรรย์...


.......

     " ดูกรภิกษุทั้งหลาย !  พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ 
      ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระ คือความสำรวม  เพื่อปหานะ คือความละ  เพื่อวิราคะ คือความคลายกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือความดับทุกข์ "
........
(จากหนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บวช...เรียน..!!


..การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น.. (พุทธทาสภิกขุ  อบรมภิกษุในพรรษา สวนโมกข์ ไชยา ๔ สิงหาคม ๒๕๑๒)

******
.....ในพุทธศาสนา เมื่อพูดว่าศึกษาหรือเล่าเรียน เขาหมายถึง การกระทำทั้งนั้น  การกระทำลงไปเลยนั่นแหละคือการเล่าเรียน  ฉะนั้น เราต้องถือโอกาสทำเลย โดยไม่ต้องเรียนชื่อเรียนเสียงหรือเรียนทฤษฎีอะไรกันมากนัก ให้รีบตั้งต้นเสียเลย ในการกระทำที่ว่านี้ โดยมีหัวข้อง่าย ๆ ว่า
    เมื่อก่อนบวช จนกระทั่งวันนี้บวช ทำอะไรเพื่อตัวเองทั้งนั้น
    ..แต่พอบวชเข้ามาแล้วอย่างนี้ ต้องเปลี่ยน..
    ..เปลี่ยนอย่างกลับหลัง..
    ..ต้องทำอะไรเพื่อมิใช่ตัวเอง..
    ..จะเรียกว่า ความว่าง ก็ได้...
    ..แต่ฟังมันสูงไป..
    ..ถ้าเรียกว่า เพื่อผู้อื่น มันค่อยยังชั่ว..
...........
    ..ต่อไปนี้ตลอดเวลา ก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ใช่ตัวเอง พูดตามภาษาธรรมดาก็ให้ทำเพื่อผู้อื่น เพื่อสิ่งอื่น เพื่อส่วนรวม เพื่อศาสนา เพื่ออะไรก็ตาม..
     ..แล้วในระดับที่สูงสุดก็เพื่อความว่าง..
     ..ทำด้วยจิตว่าง เพื่อความว่าง..
     ...ว่างจากตัวกู ว่างจากของตัวกู...
*****
(จากหนังสือ จุดมุ่งหมายของการบวช " การบวชคือการฝึกกระทำเพื่อผู้อื่น " พุทธทาสภิกขุ )
******
บวช...(คลิก)

บวช..


....พระพุทธเจ้าท่านจะไม่นั่งพูดบนหินอ่อน หรือบนอาคารที่หรูหรา ธรรมเทศนาหรือพระสูตรส่วนมาก พูดกันที่ใหนก็ได้ แล้วแต่มันจะมีชนวนให้พูด มันมีอะไรที่สะดุดใจที่ไหนท่านก็พูดเรื่องนั้นไปเลย...
    ผมบอกพวกที่มาที่นี่ ทั้งฝรั่งทั้งไทยว่า แม้เราอยู่ที่มา ๒๐ กว่าปีแล้ว มีอาคารมีอะไรอย่างนี้ แต่การเป็นอยู่ยังสงวนไว้ให้แบบพักแรมอยู่เสมอ คือ Camping Life,พักแรมชั่วขณะที่นั่นคืน-ที่นี่คืน. จึงขอให้รู้ไว้ว่าเรายังมั่นคงในชีวิตแบบ"พักแรม" การเป็นอยู่แบบพักแรมอยู่เสมอ ดังนั้น อย่าไปทำอะไรให้มันเหมือนกับคนที่เขาอยู่บ้านเรือนมีนั่นมีนี่ อย่างนั้นอย่างนี้ แขวนนั่นแขวนนี่ มันเป็นเรื่องบ้านเรือน...
*****
(จากหนังสือ จุดมุ่งหมายของการบวชที่ถูกต้อง  พุทธทาสภิกขุ)
*****
บวช...เรียน..(คลิก)

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จิต...!!






"My hope and wish is that one day, formal education 

will pay attention to what I call 'education of the heart.'

~ HH Dalai Lama

******

สอนเด็กได้เป็นอย่างดี

"ความหวังและความปรารถนาของอาตมา คือว่าวันหนึ่งการศึกษาอย่างเป็นทางการจะให้ความสนใจกับสิ่งที่อาตมาเรียกว่า  'ศึกษาที่หัวใจ.' "  ท่านดาไล ลามะ

ขอบคุณข้อมูลภาพและเรื่องจาก 

The Enthusiastic Buddhist

******

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

องคุลิมาล



             https://www.youtube.com/watch?v=omuieQSlQUg

เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ 
ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว
เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ
ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่าเกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว

เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิด
เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิด

เมื่อใดแล เกิดความมัวเมา 
อันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย
พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด
เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป
จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน
มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน

เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิด
เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิด

"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจ์ฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

เมื่อใดแล ความรักความเมตตาเหือดแห้งหายไปจากโลก
ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป
คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก 
แม้ของมารดาตนเอง
เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าหวั่นไหว


เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ"ไว้เถิด
เมื่อนั้นขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ"ไว้เถิด

"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจ์ฉามิ
 สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล
ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมือมิด
ภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา
มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง
เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ด้วยอนุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง
จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน

ขอหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด
ขอหมู่มนุษย์จงถนุถนอมความรัก 
ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน
อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด

ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของชาวภารตะ(อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานในทุกครัวเรือน

เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า
"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด

"พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจ์ฉามิ 
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

******
จิรํ ติฏฐตฺ สทฺธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จงดำรงอยู่ชั่วกาลนาน
ไวโรจนมฺเนนทระ

******

มลทิน


...มลทิน ความัวหมอง ความไม่บริสุทธิ์ กิเลสดุจสนิมใจ .. มละ ๙
๑.ความโกรธ  ..โกธะ
๒.ความลบหลู่คุณท่าน , ความหลู่ความดีผู้อื่น .. มักขะ
๓.ความริษยา .. อิสสา
๔.ความตระหนี่ .. มัจฉริยะ
๕.มารยา .. มายา..
๖.ความโอ้อวดหลอกเขา, สาไถย .. สาเถยยะ
๗.การพูดปด .. มุสาวาท
๘.ความปรารถนาลามก .. ปาปิฉา
๙.ความเห็นผิด .. มิจฉาทิฏฐิ
*******
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,ฉบับประมวลศัพท์   พระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตฺโต)
********

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

..หลง..!!


******
อย่าหลงเหยื่อ เชื่ออยาก จะยากจิต
อย่าหลงติด รสเหยื่อ เชื่อตัณหา
อย่าหลงนอน หลงกิน สิ้นเวลา
อย่าหลงว่า อายุเจ้า จะยาวนาน
                                              นิรนาม
******
(จากหนังสือ มนต์พิธีแปล รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ) วัดอรุณราชวราราม)
*****

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไม่ต่างกันเลย..!!



ภาพจากหนังสือ กายคตาสติ โดย หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน

     คนทั่วไปมองว่ามนุษย์นี้มีความแตกต่างกัน ในหลาย ๆ ด้าน บุคคลิกภาพบ้าง  การศึกษาบ้าง สถานะทางเศรษฐกิจบ้าง ทางสังคมบ้าง หรือเพศต่างกันบ้าง ฯลฯ สารพัดจะเปรียบเทียบกันไป เมื่อมีการเปรียบเทียบอย่างนั้น ก็ทำให้เกิดการแข่งขัน การชิงดีชิงเด่น การโอ้อวดถือดี มีมานะ ถือว่าตัวว่า ดีกว่าเขาบ้าง แย่กว่าเขาบ้าง เสมอกับเขาบ้าง
   แต่ในความเป็นจริง มนุษย์ทั้งหลายไม่แตกต่างกันเลย มีความเสมอกันในความเป็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในความเป็นขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในความมีอายตะภายใน ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเสมอกันโดยความเกิด ความแก่ และความตาย
   ถ้าเห็นในความเป็นจริงนี้ สารพัดทุกข์อันเกิดจากความถือตัวว่ามีอย่างนั้น เป็นอย่างนี้จะหายไป
   เพราะแท้ที่จริงแล้ว  ไม่มีอะไรให้ถือได้เลย..แม้แต่อย่างเดียว !
*****
(จากหนังสือ  เพียงรักษ์ศีล เรียบเรียงโดย ภิกษุณี สิริพร ปุญญสิริ อารามภิกษุณี สุทธจิตตฺ(นิโรธาราม ๒) อ.ดอยสะเก็ต จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๒๐ โทร ๐๘๑ ๒๐๕๕ ๔๑๖ )


วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไม่รู้ ว่าไม่รู้..!!!


     ความหลงที่มีอยู่ในใจของคนเรานั้น มีมานานมากจนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่เห็นตามปกติ จึงไม่รู้ว่าหลงไป นับตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็มาตัวเปล่ากันทุกคน ไม่มีสมบัติอะไรมาด้วยเลบ แต่นานเข้าก็เริ่มหามาสะสม พอกพูนให้มากขึ้นเรื่อย ๆ และมีความเห็นว่ายิ่งมากเท่าไรยิ่งดี ถ้ามีน้อยอยู่ก็ต้องไปหาเพิ่มให้มากขึ้น หนักเข้า กลายเป็นยิ่งมีมากเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น เพราะหลงไปยึดมั่ีนถือมั่นอีกว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็น "ของเรา" ยิ่งมี "ของเรา" มากยิ่งขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีภาระมากขึ้นเท่านั้น
     แต่ภาระใดก็ไม่หนักเท่า " ตัวเรา " นี่เอง ที่หลงไปเห็นว่านี่เป็น " ตัวเรา " ... มันจะเป็น "ตัวเรา" ไปได้อย่างไร  ในเมื่อควบคุมไม่ให้แก่ไม่ให้ป่วยไม่ให้แปรปรวน ไม่ให้เปลี่ยนแปลง ก็ทำไม่ได้เลย !
     และเมื่อไรไม่เห็นเป็น " ตัวเรา " อีกต่อไปของเรา
     " ทั้งหลายทั้งปวงที่เคยยึดเอาไว้นั้น ก็ไม่มีอีกต่อไป "
      ...สบาย..!!!
*****
(จากหนังสือ เพียงรักษ์ศีล  เรีบเรียงโดย ภิกษุณี ศิริพร ปุญญสิริ  อารามภิกษุณี สุทธจิตต์(นิโรธาราม ๒) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๒๐ โทร ๐๘๑ ๒๐๕๕๔๑๖)

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย - เนปาล





ขอขอบคุณข้อมูลภาพจาก 
https://www.facebook.com/367420510005972/photos/pcb.768055123275840/768052619942757/?type=1&theater

****
****
****
****
****
****
สาธุ สาธุ สาธุ  อนุโมทามิ

****







วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความซับซ้อนของกรรม


....การเขียนหนังสือด้วยปากกาหรือดินสอ ลงบนกระดาษแผ่นเดียวนั้น เขียนลงครั้งแรกก็ย่อมอ่านออกง่าย อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ยิ่งเขียนทับเขียนซ้ำลงไปบนกระดาษแผ่นเดียวนั้นตัวหนังสือย่อมจะทับกันยิ่งขึ้นทุกที การอ่านก็ยิ่งยากขึ้นทุกทีจนอ่านไม่ออกเลย ไม่เห็นเลยว่าเป็นตัวหนังสือ จะเห็นแต่รอยหมึกหรือรอยดินสอทับกันไปทับกันมาเป็นสีสันเท่านั้น ให้เพียงรู้เท่านั้นว่าได้มีการเขียนลงบนกระดาษแผ่นนั้น หาอ่านรู้เรื่องไม่และหาอาจรู้ได้ไม่  ว่าเขียนอะไรก่อน เขียนอะไรหลัง นี้ฉันใด
      การทำกรรมหรือการทำดีทำชั่วก็ฉันนั้น ต่างได้ทำกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทับถมกันมายิ่งกว่าตัวหนังสือที่อ่านไม่ออ กรู้ไม่ได้ว่าเขียนอะไรก่อน เขียนอะไรหลัง ทำกรรมใดไว้ก็ไม่รู้ไม่เห็น แยกไม่ออก ว่าทำกรรมใดก่อน ทำกรรมใดหลัง ทำดีอะไรไว้บ้าง ทำไม่ดีอะไรไว้บ้าง มากน้อย หนักเบา กว่ากันอย่างไร มาถึงชาตินี้ไม่รู้ด้วยกันทั้งสิ้น เป็นการซับซ้อนของกรรมที่แยกไม่ออก เช่นเดียวกับความซับซ้อนของตัวหนังสือที่เขียนทับกันไปทับกันมา
....ผลแห่งกรรม...เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงการกระทำ...
    ความซับซ้อนของกรรม แตกต่างกับความซับซ้อนของตัวหนังสือ ตรงที่ตัวหนังสือนั้นเมื่อเขียนทับกันมาก ๆ ย่อมไม่มีทางรู้ว่าเขียนเรื่องดี หรือเรื่องไม่ดี อย่างไร
    แต่กรรมนั้น แม้ทำซับซ้อนมากเพียงไร ก็มีทางรู้ว่าทำกรรมดีไว้มากน้อยเพียงไร หรือทำกรรมไม่ดีไว้มากน้อยเพียงไร โดยมีผลที่ปรากฏขึ้นของกรรมนั้นเอง เป็นเครื่องช่วยแสดงให้เห็น
    ชีวิตหรือชาตินี้ของทุกคน มีชาติกำเนิดไม่เหมือนกัน เป็นไทยก็มี จีนก็มี แขกก็มี ฝรั่งก็มี มีชาติตระกูลไม่เสมอกัน ตระกูลสูงก็มี ตระกูลต่ำก็มี มีสติปัญญาไม่ทัดเทียมกัน ฉลาดหลักแหลมก็มี โง่เขลาเบาปัญญาก็มี มีฐานะต่างระดับกัน ร่ำรวยก็มี ยากจนก็มี
     ความแตกต่างห่างกันนานาประการเหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องชี้ให้ผู้เชื่อในกรรมและผลของกรรม เห็นความมีภพชาติในอดีตของแต่ละชีวิตในชาติปัจจุบัน เกิดมาต่างกันในชาตินี้เพราะทำกรรมไว้ต่างกันในชาติอดีต
*******
(จากหนังสือ พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณยก : ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา)
.....


.....

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความจริง !!


...พระพุทธเจ้าสอนความจริงของชีวิตว่า..
     ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย
     บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า..
     สังขารทั้งหลาย..มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
     ท่านยังคงความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
     นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
      ***
     ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย น้อย นิดหน่อย รวดเร็ว
      มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
       จะรู้จักชีวิตถูกต้องได้ด้วย..ปัญญา
      ควรเจริญ..กุศล คือ สิ่งที่ฉลาด ( คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
      ควรประพฤติพรหมจรรย์ คือ
       การดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐยิ่งในอริยมรรคมีองค์ ๘
       เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว จะไม่ตาย ไม่มี ดังนี้
       ***
       วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยเข้าทุกที
       ***
       การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้ คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์
       ***
       " ปัญญา อันศีลชำระให้บริสุทธิ์
           ศีล        อันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์
           ปัญญา มีอยู่ในบุคคล ผู้มีศีล
           ศีล        มีอยู่ในบุคคล ผู้มีปัญญา
           ปัญญา เป็นของบุคคลผู้มีศีล
           ศีล        เป็นของบุคคล ผู้มีปัญญา
              ศีลและปัญญา เป็นยอดในโลก
              เหมือนบุคคลชำระล้างมือด้วยมือ
              ชำระล้างเท้าด้วยเท้า "
****
(จากหนังสือ เทคนิคเพิ่มสุข โดย ภิกษุณี รุ้งเดือน นนฺทญาณี อารามภิกษุณี นิโรธาราม)


วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุกข์ทั้งนั้น !!


ถ้าใครบอกว่า ชีวิตนี้ไม่เคยรู้จักความทุกข์กับเขาเลย เพราะเกิดมาบนกองเงินกองทอง มีทรัพย์สมบัติมากมายล้นเหลือ ใช้ไปได้อีกหลายชาติก็ไม่หมด มีความสุขสบายทุกอย่าง ไม่เห็นจะมีทุกข์อะไร  ?
ที่ว่าอย่างนี้ ก็เพราะยังไม่รู้จักทุกข์ น่ะสิ....
แล้วทุกข์ เป็นยังไง ???
ความหมายของทุกข์ คือ เป็นอยู่อย่างเดิมไม่ได้ ฉะนั้น สภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของกายก็ดี จิตใจก็ดี เรียกว่า ทุกข์แล้ว เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน นาน ๆ แล้วเมื่อย ก็ต้องขยับตัว นั่นคือทุกข์ อากาศร้อนทนไม่ไหวต้องหาความเย็นเข้ามา ก็เพราะทุกข์ ถึงแม้มีความสุขมากก็ยิ้มอยู่ได้ไม่นานหรอก ต้องหุบยิ้มลงเพราะเหงือกแห้ง อุตส่าห์เดินทางไปกินปูอลาสก้า ถึงเมืองอลาสก้า แคนาดา ก็จะกินได้สักกี่คำ ความอร่อยนั้นก็ดับหายไป แต่เป็นความอร่อยที่มีราคาแพงมาก เหตุเพราะความติดใจในปูอลาสก้า ก็เลยต้องจ่ายค่าปูตัวละหลายหมื่นบาท กินอร่อยแล้วอยากจะเก็บไว้นาน ๆ ก็หาได้ไม่ ทนไม่ไหวก็ต้องระบายออก(อุจาระ) แล้วถ้าไม่ให้ระบายออก ก็คงจะต้องทุกข์ใหญ่หลวงแน่นอน
คนที่รักกันหนักหนา แทบจะติดตัวกันตลอดเวลา 
แล้วเวลาตื่นนอนตอนเช้า
จะส่งยิ้มให้กันได้อย่างใกล้ชิดได้ไหม ? 
คงแอบทุกข์พอสมควร (ฮา)
ถ้ารู้สึกง่วงนอน แล้วมีคนบอกว่าไม่ให้ไปนอน จะเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รู้สึกมีความสุข เบิกบาน ยินดีเหลือหลายกับข่าวดีที่ได้รับ กับของขวัญชิ้นใหญ่ กับแฟนคนใหม่ ความสุขนั้นจะคงอยู่ได้นานสักเท่าไร ในที่สุดก็ต้องหมดไป หายไป เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
แม้หายใจเข้าแล้วลองไม่หายใจออกดูสิ จะได้รู้จักความทุกข์เต็ม ๆ จริงแท้แน่นอน !
สภาวะทุกข์ไม่ใช่เกิดเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แม้กับสิ่งไม่มีชีวิต ก็ต้องเปลี่ยนแปรไป อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้เช่นกัน เช่น รถคันที่ใช้อยู่เก่าลงทุกวัน ต้องทำสีใหม่ บ้านที่อยู่อาศัยก็เช่นกัน ทุกสิ่งล้วนเป็น ทุกข์ทั้งสิ้น คงรู้จักทุกข์กันแล้วสินะ !
********
(จากหนังสือ เพียงรักษ์ศีล  ภิกษุณี สิริพร ปุญญสิริ)

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ศีล สมาธิ ปัญญา มีสองฝ่าย


     ศีล สมาธิ ปัญญา นี้มีทั้งฝ่ายโลกียะและโลกุตตระ
    โลกียศีล คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เป็นศีลที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีมีศีลธรรม รู้จักผิดชอบชั่วดีบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
แต่โลกุตตระศีล เป็นศีลในทางปฏิบัติ เป็นศีลในองค์มรรค ดังคำสรุปที่ว่า สีเลนสุคติงยันติ สีเลนโภคสัมปทา  ศีล ๒ ตัวนี้เป็นโลกียศีล คือไปเกิดดีได้ก็เพราะศีล จะมีโภคะได้ก็เพราะศีล แต่สีเลนนิพุติงยันติ ตัวนี้เป็นโลกุตตระศีล คือจะไปนิพพานได้ก็เพราะศีล
      ดังนั้น ศีลฝ่ายโลกียะ กับศีลฝ่ายโลกุตตระ จึงมีการปฏิบัติที่ต่างกัน และมีผลต่างกัน
     โลกียสมาธิ เป็นสมาธิที่หวังความสงบในทางโลก ด้วยการปฏิบัติสมถกรรมฐาน โดยมุ่งเอาฌาน เพื่อให้ได้โลกียอภิญญา อันมีพรหมภูมิเป็นที่สุด
      แต่โลกุตตรสมาธิ เป็นสมาธิที่หวังความสงบที่เหนือโลก พ้นจากโลก อันมีพระนิพพานเป็นที่สุด
      โลกียปัญญา แม้จะมีปัญญาสร้างสรรความเจริญทางด้านวัตถุสักเพียงไดก็ตาม ก็เป็นเพียง สุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา เป็นปัญญาของผู้อื่นที่ลอกเลียนตาม ๆ กันมา  เป็นปัญญาเพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเท่านั้น
       แต่โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของตนเองที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
        โลกียปัญญา เป็นปัญญาที่เอาชีวิตรอด
         แต่โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาที่เอาจิตรอด
   
   There are two levels of morality,concentration,and wisdom:the mundane and the transcendental.
    Mundane morality exists in the five precepts and the eight precepts for lay-people,the ten precepts for nuns and novices,and the two hundred and twenty-seven precepts for monks.These precepts keep those who observe them moral ,knowing what is right and what is wrong,so that they live peacefully and happily together.
     Transcendental precepts are the ones practiced for enlightenment.In the ritual wherein monks give people precepts according to their request ,each monk always chants in pali after people have received and precepts; good birth is caused by observing precepts,wealth comes from observing precepts,attainment of nibbana is the result of observing precepts.The first two results are from mundane morality,but the last one is from transcendental or supramundane precepts.The two kinds of moralilty are practiced in different ways and render different results.
     Likewise,mundane concentration aims to gain mundane peace though tranquillity meditation.The further goal is serenity which will result in super normal knowledge and power.The supreme result is to be born in the Brahma sphere which is more devine than heaven.
      Transcendental concentration, on the other hand,aims at absolute peace which is beyond the world and rebirth.The final goal of trancendental concentration is nibbana. 
      However much material progress come from Mundane wisdom,it is only  wisdom from learning and reason.It is only wisdom for survival.
     transcendental wisdom,however is truely one's own wisdom as a result of insight meditation.It is the wisdom from one's insight.Thus it can be said that
    mundane wisdom is for survival,
    but transcendental wisdom is for the mind's salvation.
********
(จากหนังสือ ทางสายเอก (ฉบับสมบูรณ์) พระราชพรหมาจารย์(พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล)เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)

******

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

..ยุ่งจริง..หนอ ..!!!


เทวดาถามปัญหา

     ครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่นครสาวัตถี มีเทพบุตรตนหนึ่งมีความข้องใจในปัญหาธรรม จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า 
" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์โลกพากันยุ่งทั้งภายในและภายนอกถูกความยุ่งเกี่ยวพันไว้แล้ว จะแก้ไขความยุ่งเหยิงได้อย่างไรพระเจ้าข้า "
     Once When the Buddha was in Sarvasti Capital,a heavenly being who had a problem about dhamma asked him,
     " All living beings in this world are confused both within their minds and with the world outside;how can this confusion possibly be gotten rid of? "
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า " บุคคลใดตั้งอยู่ในศีล ทำสมาธิให้เกิด ยังวิปัสสนาปัญาให้แจ้ง บุคคลผู้นั้นก็จะสางความยุ่งเหยิงในโลกนี้ได้ "
    คำว่า ยุ่งเหยิง ก็คือ กิเลส มี โลภะ โทสะ โมหะ ที่วุ่นวายในจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ
     Buddha answered;
     " Whoever has moral conduct,develops concentration through meditation,and gains wisdom canget rid of the confusions  encountered in this world "
     The confusions are defilements consisting of greed,anger,and delusion which perpetually occupy the mind.


*******
(จากหนังสือ ทางสายเอก(ฉบับสมบูรณ์) พระราชพรหมาจารย์(พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล)เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)

******