....รู้จักตัณหา นั้นก็คือรู้จัก รูปตัณหา ตัณหาในรูป สัททตัณหา ตัณหาในเสียง คันธตัณหา ตัณหาในกลิ่น รสตัณหา ตัณหาในรส โผฏฐัพพตัณหา ตัณหาในสิ่งที่ถูกต้อง ธรรมตัณหา คือตัณหาในธรรมารมณ์ อันได้แก่เรื่องราว และท่านได้แสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักเหตุเกิดตัณหานั้น ก็คือรู้จักว่าความเกิดขึ้นแห่งตัณหามีขึ้น ก็เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา และได้แสดงถึงความดับตัณหาว่า ความดับตัณหามีขึ้นก็เพราะดับเวทนา แสดงทางปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหาว่า มีมรรคมีองค์ ๘ คือมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ เป็นต้น...(สมเด็จพระญาณสังวร)
หน้าเว็บ
▼
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๑๓)
....รู้จักตัณหา นั้นก็คือรู้จัก รูปตัณหา ตัณหาในรูป สัททตัณหา ตัณหาในเสียง คันธตัณหา ตัณหาในกลิ่น รสตัณหา ตัณหาในรส โผฏฐัพพตัณหา ตัณหาในสิ่งที่ถูกต้อง ธรรมตัณหา คือตัณหาในธรรมารมณ์ อันได้แก่เรื่องราว และท่านได้แสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักเหตุเกิดตัณหานั้น ก็คือรู้จักว่าความเกิดขึ้นแห่งตัณหามีขึ้น ก็เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา และได้แสดงถึงความดับตัณหาว่า ความดับตัณหามีขึ้นก็เพราะดับเวทนา แสดงทางปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหาว่า มีมรรคมีองค์ ๘ คือมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ เป็นต้น...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๑๒)
...สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากายของตน ....สักกายทิฏฐิ ๒๐ ...เป็น ๒๐ อย่างไร ก็คือ เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตน คือเห็นว่า รูปเป็นตน เวทนาเป็นตน สัญญาเป็นตน สังขารเป็นตน วิญญาณเป็นตน ก็ได้ ๕ ข้อ เห็นว่าตนมีขันธ์ ๕ คือเห็นว่า ตนมีรูป ตนมีเวทนา ตนมีสัญญา ตนมีสังขาร ตนมีวิญญาณ ก็ได้อีก ๕ เห็นขันธ์ ๕ ในตน คือเห็นรูปในตน เห็นเวทนาในตน เห็นสัญญาในตน เห็นสังขารในตน เห็นวิญญาณในตน ก็เป็นอีก ๕ เห็นตนในขันธ์ ๕ คือเห็นตนในรูป เห็นตนในเวทนา เห็นตนในสัญญา เห็นตนในสังขาร เห็นตนในวิญญาณ ก็เป็นอีก ๕ ห้าสี่หนก็เป็น ๒๐ จึงเรียกว่าสักกายทิฏฐิ ๒๐ ความเห็นว่ากายของตน ๒๐ ...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๑๑)
...อัตตวาทุปาทาน ยึดถือหรือถือมั่นวาทะว่าตน.... สมมติบัญญัติว่าอัตตาตัวเราของเรา ตัวเราก่อน แล้วก็มีของเรา แล้วก็จะมีตัวเขาของเขา และเมื่อพิจารณาให้รู้จักที่ตั้งแห่งสมมติบัญญัติ โดยเฉพาะที่ตัวเรานี้ตามความเป็นจริง โดยไตรลักษณ์ดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้หายหลง หายยึดถือ แต่เมื่อยังไม่ได้เห็นแจ้งจริง ก็ย่อมจะต้องมีความยึดถืออยู่ เป็นอัตวาทุปาทาน อนึ่ง เมื่อมีอุปาทานนี้ ยังเป็นเหตุให้ถือเราถือเขา ด้วยอำนาจมานะ จนเป็นเหตุถือพวก เป็นเหตุให้เกิดความแก่งแย่ง วิวาท และอกุศลกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๑๐)
...สีลัพพัตตุปาทาน
ความยึดถือศีลและวัตร หรือศีลและพรต ....พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทางสุดโต่ง ๒ ทาง
ที่บรรพชิตผู้มุ่งจะตรัสรู้ไม่ควรที่จะส้องเสพปฏิบัติ คือ กามสุขัลลิกานุโยค
ความประกอบตนด้วยความสุขสดชื่นในทางกาม และ อัตตกิลมถานุโยค
ความปฏิบัติทรมานตนให้ลำบาก คือทำทุกรกิริยาต่างๆ เหล่านี้ก็ชื่อว่าเป็นศีลและวัตร
ซึ่งศาสดาในภายนอกพุทธศาสนาสั่งสอนกัน.... (สมเด็จพระญาณสังวร)
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๙)
...คือความยึดถือทิฏฐิ คือความเห็น..ความเห็นผิดต่าง ๆ ...มิจฉาทิฏฐิ...
...อกริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีบุญ ไม่มีบาป...
...อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่า ไม่มีเหตุ..ผลที่ได้ต่าง ๆ บังเกิดขึ้นตามกาลแห่งโชคเคราะห์...
...นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เป็นการปฏิเสทสมมติสัจจะ ความจริงโดยสมมติ..ปฏิเสทคติธรรมดา คติกรรม ผลของกรรม ความเห็นที่ผิดหลักพุทธศาสนาสิ้นเชิง...
...ความเห็นผิดทั้งสามนี้...ข้ามทั้งสุขคติ..ข้ามทั้งมรรคผลนิพพาน.....(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๘)
........และท่านก็ได้แสดงอธิบายในข้อแรก
คือข้อที่ว่ารู้จักอุปาทาน จำแนกอุปาทานเป็น ๔ คือ กามุปาทาน ความยึดถือกาม ทิฏฐุปาทาน ความยึดถือทิฏฐิ สีลัพพัตตุปาทาน ความยึดถือศีลและพรต อัตวาทุปาทาน ความยึดถือวาทะว่าตน รู้จักอุปาทานก็คือรู้จักอุปาทานทั้ง ๔ นี้
รู้จักเหตุเกิดแห่งอุปาทาน ก็คือรู้จักว่าอุปาทานเกิดขึ้นก็เพราะตัณหาเกิดขึ้น
ตัณหาจึงเป็นเหตุเกิดแห่งอุปาทาน รู้จักความดับอุปาทาน ก็คือรู้จักว่าตัณหาดับ
อุปาทานก็ดับ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอุปาทาน ก็คือรู้จักว่ามรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
เป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับอุปาทาน ....(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๗)
....ภพคืออุปบัติ ความเข้าถึง ก็คือความที่เข้าถึงชาติความเกิด เพราะเมื่อเป็นภพ คือความมีความเป็น เป็นเราขึ้นมา........ในปัจจุบันนี้ภพกับชาติก็คู่กันอยู่ดั่งนี้ตลอดเวลา ความเป็นคนดี ความเป็นคนชั่วนั้น มีทันทีในเมื่อสร้างกรรมดีกรรมชั่วขึ้น คือเมื่อตัวเรานี้สร้างกรรมดีกรรมชั่วขึ้น คราวนี้ถ้าไม่มีการสร้างกรรมดีกรรมชั่วขึ้น ที่จะเกิดเป็นคนดีคนชั่วก็ไม่มี....(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๖)
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๕)
.....เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ความแก่ ความตาย ก็คือ ชาติ ความเกิด
รู้จักเหตุเกิดแห่งความแก่ ความตาย ก็คือ รู้จักว่าชาติความเกิดเป็นสมุทัย
เหตุเกิดแห่งความแก่ความตาย ดับชาติคือความเกิดเสียได้ก็เป็นความดับชรามรณะ.....(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๔)
....เมื่อหัดให้รู้จักว่าสมุทัยของชรามรณะ ก็คือชาติความเกิด
เพราะมีชาติคือความเกิดเป็นเบื้องต้นจึงมีชรามรณะ ถ้าไม่มีชาติคือความเกิดชรามรณะก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นดับชาติเสียได้จึงเป็นอันว่าดับชรามรณะ ..(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๒)
วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
สัมมาทิฏฐิสูตร(๑)
..พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระสาริบุตร ได้แสดงพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงเรื่องความเห็นชอบ โดยยกเอาการรู้จักอกุศลและมูลรากของอกุศล การรู้จักกุศลและมูลรากของกุศลขึ้นแสดงก่อน เมื่อภิกษุทั้งหลายถามถึงปริยายอย่างอีก ก็แสดงยักย้ายนัยเรื่อย ๆ ไปอีก ๑๕ ข้อ...(พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน)
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
สัลเลขสูตร
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556
มหาสติปัฏฐานสูตร
....พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงชี้ทางปฏิบัติอันเดียว อันเรียกชื่อ เอกายนมรรค ...ทางปฏิบัติอันเดียว เพื่อความบริสุทธ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก ความรัญจวน..ทั้งเพื่อดับทุกข์ความโทมนัสทั้งหลาย เพื่อบรรลุธรรมอันถูกชอบที่พึงบรรลุ ..เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง นิพพาน ...ทางปฏิบัติอันเดียวนี้ก็คือ..สติปัฏฐาน...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
ตั้งจิตให้ถูก
...คนเราแพ้อำนาจกิเลส...หากมีสติปัญญาเพียงพอ.."สู้ซึ่งหน้า" ก็สู้ได้...สงบได้...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556
ภาวนามยาปัญญา
...ปัญญาที่ขับไล่กิเลส เป็นวิปัสสนาปัญญา..(พระธรรมธีรราชมหามุนี)
ปัญญาที่จะรู้แจ้ง..http://www.gotoknow.org/posts/547964
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556
อารมณ์กรรมฐาน
....ให้ตามดู ตามรู้ ตามเห็น ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ว่ามีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีการเสื่อมดับเป็นธรรมดา .....ตั้งสติให้ได้ปัญญารู้ ไม่ยึดมั่นอะไร นี้เป็นหลักปฏิบัติ กรรมฐาน...(สมเด็จพระญาณสังวร)
วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556
ข่มใจ ข่มกิเลส
....ฝึกใจข่มใจให้ละกิเลส กิเลสที่เกิดขึ้นมานั้นแม้ว่าจะสำรวมระวัง..แต่ก็มีเวลาที่จะเผลอสติ..อารมณ์ก็เข้ามา จิตก็จับอารมณ์เป็นสังโยชน์ ก็เกิด ราคะ โทสะ หรือโมหะ ขึ้นในอารมณ์...(สมเด็จพระญาณสังวร)