หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567

๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗


๑๓ สิงหาคม ๖๗ ครบรอบ ๑๕ ปี
ที่แม่จากไป


แม่ครูสดับ (สกุลเดิม ดีวงษา) สุภานันท์
































ขอขอบคุณผู้บันทึกภาพ 
ดาว ดาวัน นันทา สาว ฝ้าย ฯลฯ
จากLine ร่ำรวยสุภานันท์

************



*******
บ้านเรา















































 

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2567

นิวรณ์


 นิวรณ์ สิ่งขัดขวางความสงบและปัญญามีห้าข้อ ข้อที่สี่ ภาษาบาลีว่า อุทธัจจะกุกกุจจะ อันที่จริงข้อนี้มีสองส่วน ส่วนแรก อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่าน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการไม่สำรวมอินทรีย์ในชีวิตประจำวัน ส่วนที่สอง กุกกุจจะ มักได้รับการอธิบายในเชิงความวิตกกังวล ความรำคาญใจ แต่ข้อนี้มีอีกนัยหนึ่งที่น่าพิจารณา คือกุกกุจจะหมายถึงความหมกมุ่นกับความเดือดร้อน ซึ่งเป็นผลจากการทำบาปในอดีต


ความเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ ถ้าดีก็เป็นพลังขับเคลื่อนให้ไม่ประมาทเมื่อต้องอยู่ใกล้สิ่งยั่วยุอีก แต่ถ้าเราคิดปรุงแต่งเป็นอโยนิโสมนสิการ จะทำให้จิตเศร้า หมดกำลังใจว่าเราเป็นคนแย่ คนไม่ดี เราไม่ดีพอที่จะเจริญในธรรม เราเป็นผู้มีมลทินซึ่งล้างออกไม่ได้ นักปฏิบัติจึงควรเข้าใจว่าความคิดเช่นนี้ไม่ใช่อาการของ หิริโอตตัปปะ หรือการละอาย เกรงกลัวต่อบาป หากแต่เป็นกิเลส


พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าการชำระความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตทำได้ด้วยการรับผิดชอบการกระทำ การเปิดเผยกับผู้ที่ควรรับทราบโดยเฉพาะผู้เป็นกัลยาณมิตร หรือครูบาอาจารย์ และข้อที่สามที่สำคัญที่สุดคือการอธิษฐานว่าจะไม่ทำอย่างนั้นอีกต่อไป


พระอาจารย์ชยสาโร

*****

Cr.https://www.facebook.com/share/cXZKCbYat79YaALg/?mibextid=oFDknk

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567

รู้..ตื่น..สมาธิ


 ...จิตที่จะก้าวหน้าในธรรมต้องรู้ต้องตื่น ถ้าปล่อยให้จิตเบลอๆ ไป เพลินๆ ไป อันนี้มันไม่ใช่ทางไปสู่สมาธิและปัญญา แต่ถ้าเราได้ภาวะ “รู้ รู้ รู้” ภาวะ “ตื่น ตื่น ตื่น” อย่างนี้ทุกลมหายใจนี่คือฐาน สติต่อเนื่องจิตใจก็เปลี่ยน ความมั่นคง ความหนักแน่น ความนุ่มนวล ความผ่องใสเบิกบาน ก็เกิดขึ้นเรียกว่า “สมาธิ” และเมื่อสมาธิเป็นฐานแล้ว ปัญญาในการรู้การเห็นไตรลักษณ์ก็ปรากฏได้


สติเป็นเงื่อนไขของสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเป็นเงื่อนไขของปัญญาของวิปัสสนา ฉะนั้นเราเน้นที่สติไว้ก่อน ฝึกสติป้องกันนิวรณ์ สร้างความสันโดษกับลมหายใจ บริกรรมหายใจเข้าว่า “รู้ รู้ รู้” หายใจออก “ตื่น ตื่น ตื่น” ไม่ใช่สักแต่ว่ากล่าวนะ มันมีความตระหนักอยู่ในความหมายของคำว่า “รู้ รู้ รู้...ตื่น ตื่น ตื่น” นี่ก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง ถ้าเราทำอย่างนี้จะป้องกันความง่วงได้ดี เพราะรู้กับตื่นนี่ตรงกันข้ามกับง่วง...


พระอาจารย์ชยสาโร

นำสมาธิภาวนา ในวาระปฏิบัติธรรมบ้านบุญวันอาทิตย์

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ บ้านบุญ ปากช่อง นครราชสีมา

*****

Cr.https://www.facebook.com/share/3XyuCjQhMrSDtR7x/?mibextid=oFDknk

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

รู้จักกิเลส

 


ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
บางคนเข้าใจผิดว่า
ไม่เคยรู้จักตัวเองว่ามีกิเลส
เพราะไม่ได้ดู ไม่ได้สังเกต ไม่ได้มีสติ
โกรธก็ไม่รู้ตัว
โลภก็ไม่รู้ตัว
หลงก็ไม่รู้ตัว
มานะทิฏฐิ อิจฉาริษยาก็ไม่เคยรู้ตัว
บางคนเจอกิเลสแล้วก็เกิดความหงุดหงิดรำคาญวุ่นวายกับกิเลส
กิเลสมันหลอกล่อให้วุ่นวาย
ปฏิบัติแล้วเพิ่มจำนวนกิเลส เพราะอะไร?
ใจเราจะต้องสงบอย่างเดียว จะต้องบริสุทธิ์
#เมื่อมาเจอว่าปฏิบัติแล้วทำไมใจเราฟุ้ง ใจเราวุ่นวาย ใจเรายังไม่สงบ
#ก็เกิดความขัดเคือง เกิดความรู้สึกหงุดหงิดกับใจตัวเอง
เมื่อกำหนดใจเราไปมากขึ้น
เหมือนเราขุดลงไปก็เจอรากเจออะไรต่าง ๆ
เรารื้อขึ้นมาก็เจอขยะมูลฝอยมากขึ้น
เรากำลังรื้ออยู่
มันยังรื้อไม่จบ มันยังไม่ได้ทำความสะอาดหมด
เพียงแต่มารื้อดู แล้วก็เริ่มเห็นสิ่งสกปรก เห็นขยะ เห็นอะไรต่าง ๆ
เราก็อย่ากลุ้มใจ อย่าท้อใจ
มันเห็น มันจะได้เริ่มมาชำระได้
ถ้าไม่เห็น ไม่ใช่มันไม่มี แต่มันบังอยู่
อย่างคนป่วย
แต่ว่ามันไม่แสดงอาการ หรือว่าไม่ได้ไปตรวจ
ก็เลยไม่รู้ตัว
ที่รู้สึกไม่เป็นไร แต่ที่จริงมันเป็นอะไรอยู่
พอไปตรวจเข้าก็เจอ
เหมือนกับคนที่ก่อนหน้านั้นไม่ได้ปฏิบัติ ก็เหมือนไม่มีกิเลส
พอปฏิบัติทำไมมีกิเลส
มันก็คือเรามาตรวจ
พอมาตรวจตราขึ้นมาก็เจอ
จงสร้างเหตุแห่งนิพพาน
(มุทิตาสักการะ ๓๓ พระธรรมเทศนาปี ๒๕๕๒)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา

*******
Cr.https://www.facebook.com/PageWatMaheyong