หน้าเว็บ

เสียงสะท้อน (feedback)

 


การให้เสียงสะท้อน (feedback) ไม่ใช่แนวคิดสมัยใหม่จากทางตะวันตกเสียทีเดียว หากแต่เป็นเสาหลักในพระวินัยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พระวินัยให้แนวทางชัดเจนว่าพระภิกษุพึงว่ากล่าวตักเตือนกันและกันด้วยความเคารพและระมัดระวัง  อีกทั้งสอนให้ยินดีรับฟังคำตักเตือนจากหมู่สงฆ์โดยไม่จำกัดอาวุโส การให้และการรับฟังเสียงสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณมุ่งให้เกิดการถ่วงดุลที่จำเป็นอย่างยิ่งกับหลักพระวินัยในด้านความสามัคคีในหมู่สงฆ์


คุณค่าอันดับแรกของความสามัคคีในหมู่สงฆ์อยู่ที่การสร้างสภาวะที่เอื้อต่อความก้าวหน้าในธรรม ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ความสามัคคีในหมู่คณะกลายเป็นเป้าหมายแทนที่จะเป็นวิธีการ และเมื่อใดก็ตามที่ละเลยความมุ่งมั่นในการว่ากล่าวตักเตือนกันอย่างจริงใจและปรารถนาดีต่อกันและกัน ความฉ้อฉลย่อมย่างกรายเข้ามา ผู้ที่อยู่ในหมู่คณะจะไม่พยายามช่วยให้เพื่อนเห็นจุดบอดและแก้ไขจุดอ่อนของตนเองอีกต่อไป  แต่จะมีข้อตกลงที่รู้กันอยู่ในใจมาแทนว่า “ผมจะไม่ว่าอะไรคุณ ตราบใดที่คุณไม่ว่าอะไรผม” การทำแบบนี้อาจก่อให้เกิดสันติสุขแบบเปลือกนอกขึ้นได้ แต่จะส่งผลเป็นความสามัคคีของคนพาล


เมื่อให้ความสำคัญกับศีล สติ เมตตากรุณาและปัญญา เราจะสามารถหลีกเลี่ยงการแตกสามัคคีในหมู่คณะและความสามัคคีของคนพาล และเข้าถึงความปรองดองของบัณฑิตได้


ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

*******

Cr.https://www.facebook.com/100064337808864/posts/pfbid0hNiugRtZM9vSifMoHtwgfGQXTkSNrmEx9t7gXnGBHmUZfFYHwKTCcETQj3cYg6N3l/

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ขอจากไปอย่างสงบ..

 

(ภาพนี้ไม่เกี่ยวข้องกับบทความแต่ประการใด)


Cr.fwd.line

*****

~ อยากรู้ไหมว่า ถ้าเลือกได้...พวกหมออยากตายแบบไหน

ขอบคุณ อ churdchoo กก แพทยสภา ที่ได้แปลเรียบเรียบเป็นภาษาไทย

หมอในทุกประเทศ เราคงคิดเหมือนกัน

เราเห็นมามากเกินพอแล้วครับ


งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ บรรดาแพทย์ที่จบจาก Johns Hopkins University ตั้งแต่ปี 1946-1964 จำนวน 1,337 คน


โดยคำถามที่ส่งไปให้แพทย์เหล่านี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกปี ช่วงแรกๆ จะเป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ แต่พอผ่านไปได้ 50 ปี


~ คุณหมอเหล่านี้ก็อายุปาเข้าไป 70-80 กันแล้ว รูปแบบคำถามก็เปลี่ยนไป ครั้งนี้ถามว่า


~ ในฐานะแพทย์ ได้วางแผนอย่างไร เมื่อถึงวาระสุดท้ายของตัวเอง


~ โดยให้สถานการณ์สมมติว่า… ถ้าเกิดเจ็บป่วย…ด้วยโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย …และสมองเสียหาย …จนจำคนรู้จักไม่ได้ …สื่อสารกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง


(ตัวอย่างเช่นภาวะ Alzheimer รุนแรง หรือสมองเสื่อมมากๆ)


- แต่ไม่ตาย ถ้าประคับประคองไปเรื่อยๆ ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกนาน

~ ปรากฏว่า คำตอบที่น่าสนใจมาก

~ กล่าวโดยสรุปคือ


- ไม่ต้องการ CPR 90%(ไม่ต้องการให้ปั๊มหัวใจ 90%)


- ไม่ต้องการ เครื่องช่วยหายใจ 80%


- ไม่ต้องการสายให้อาหาร 80 %


- ไม่ต้องการ การฟอกไต 80%


- ไม่ต้องการ การผ่าตัด 80%


- ไม่ต้องการ invasive test 80% การตรวจอื่นๆที่ ต้องเจ็บตัว


- ไม่ต้องการเลือด 80%


- ไม่ต้องการสารน้ำ 60%


- ไม่ต้องการยาปฏิชีวนะ 60%


~ สรุปคือ ส่วนใหญ่ไม่ขออะไรเลย มีแค่เพียงสิ่งเดียว ที่หมอเหล่านี้ต้องการคือ...ยาแก้ปวดเพื่อจากไปอย่างสงบถึง 80%


ซึ่งคำตอบเหล่านี้…ครงกับคำตอบของกลุ่ม "ตื่นรู้ ก่อนตาย" "ฝึกตาย ก่อนตายจริง" "ฝึกตายอย่างสงบมีเกียรติ ไม่ต้องมีสายระโยงระยาง เป็นการตายตามธรรมชาติ"


~ ความเจ็บปวด จากหัตถการ…มักเจ็บปวดมากกว่า ความเจ็บปวดจากตัวโรคเอง และ


~ สิ่งที่ทำไปทั้งหมด มันเป็นเพียงยืดเวลาการตายออกไปอีกนิดเท่านั้น พร้อม ยืดระยะเวลาการเจ็บปวดก่อนตาย ให้นานมากขึ้น(prolonged suffering, not life)


และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เราทุกคนควรมีสิทธิ์เลือกว่าจะตายอย่างไร (autonomy)


เพราะการมีแค่ชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย แม้แต่ควบคุมการตัดสินใจของตัวเองก็ทำไม่ได้ มันอาจจะน่ากลัวกว่าตัวความตายจริงๆเสียอีก


สิ่งที่มนุษย์ผู้มีสติปัญญาจริงๆต้องการ เมื่อถึงเวลา คือการเสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี, สงบ และ ไม่เจ็บปวดเท่านั้นเอง

Cr:อ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"หน้าน้ำ"


คลองข้าวเม่า/คลองอุทัย


"หน้าน้ำ"

Cr.Fwd.line


 

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี


 “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” “ทำดี ดีกว่าขอพร” 


เกร็ดธรรมคำสอนท่านเจ้าคุณนรฯ …


1. “Personal Magnet"


เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น เป็นเพราะ คุณธรรมความดี ของตนเอง หลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่เกิดความเมตตากรุณารักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือคนซึ่งมี กิริยามารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือเสน่ห์ในตัวของตัวเอง


เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต


2. “เมตตา”


อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพแล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแต่ตนสมประสงค์ทุกประเด็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย.


3. “สบายใจ”


คำว่า " ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป Let it go, and get ti out!" ก่อนมันจะเกิดต้อง Let it go! ปล่อยให้มันผ่านไปอย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้


ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สาบายใจไว้ในใจมันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอดทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว


เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายใจไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่ง เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส


ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริงเกิดปิติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ Enioy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจจำได้ง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มเบิกบานต้อนรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น


พระพุทธเจ้าสอนว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" " สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"


หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่นความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Soial ในการมีคู่รัก

คู่ครอง หรือในการมีลาภยศได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง


4. “สันติสุข”


พระพุทธเจ้าสอนว่า " นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ” “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"


หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่นความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Soial ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง


แต่ว่า สุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ


ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก


เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ

เกิดกับกายใจของเรานี่เอง

อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้

หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ


แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกข์เวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจ ให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย


เมื่อ ใจ สงบแล้วกลับจะทำให้กายสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย

และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ


- สอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทาง กาย วาจา เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น


- สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วย สมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง


ความกำหนัด

ความโกรธ

ความโลภ

ความหลง

ความกลัว

ความฟุ้งซ่านรำคาญ

ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง


- ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็นด้วย ปัญญา พิจารณาให้เห็นว่า


สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้นแปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็น ทุกข์


ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า อนัตตา


เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็ง มั่นคง เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย


เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน


มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงเสื่อมสิ้นดับไป


ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา


อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ


จงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ


ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น


เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข


เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิต Mind Power ที่จะใช้ทำกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์


" นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ

สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี "


It meeds a Peaceful Mind to support a Peaceful Body,

and itneeds a Peaceful Body to support a Peaceful Mind,

and it needs Both Pescaful Body and Mind to attain all succes that wbich you wish.


5. “ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือคนไม่ทำอะไรเลย” DO NO WRONG IS DO NOTHING


จงระลึกถึงคติพจน์ว่า “Do no wrong is do nothing!" "ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย!"


ความผิดนี้แหละ เป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือความผิด จะได้ตรงกับคำว่า "เจ็บแล้วต้องจำ!" ตัวทำเองผิดเอง นี้แหละเป็นอาจารย์ผู้วิเศษ เป็น Good example ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท อดีตที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านพ้นล่วงไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่คอยกระซิบเตือนใจเสมอทุกขณะว่า "ระวัง! อย่าประมาทนะ! อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ!"


ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง

เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า

สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย

ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำอภัยไฉน!


จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดีและทางผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดีล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนมาแล้วด้วยกันทุกท่าน


6. “สติสัมปชัญญะ” [ความระลึกได้ และความรู้ตัว]


ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะจำทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า " กุมสติต่างโล่ห์ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม"


ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ตลอดทั้งพืชพันธุ์ พฤษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า " Life id fighting " " ชีวิตคือการต่อสู้ " เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใจก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับชีวิตพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า immortal จึงเรียกว่า ปรินิพาน

คือนามรูปสังขารร่างกายที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น


เพราะฉะนั้น ความฝึกฝนสติ [ความระลึกรู้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด] สัมปชัญญะ [รู้ตัวทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่] เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตาพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด


7. “อานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา”


ด้วยอนุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้แล จึงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลางและอย่างละเอียดได้!


- ชนะความหยาบคาย ซึ่งเกิดกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ ด้วยศีล


ชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วยสมาธิ


- ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ โดยพร้อมมูล บริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย!


เพราะฉะนั้น จึงความสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ.


8. “ดอกมะลิ”


ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุดและขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย


ชีวิตมนุษย์ที่เป็นอยู่เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง 2-3 ก็จะเหี่ยวเฉาไป


ฉะนั้นขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบานฉะนั้น."จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ"


9. “ทำดี ดีกว่าขอพร”


"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ!"


เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไปเป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้วจะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำหินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพร อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้องเล่นจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ ทำดีเหมือนน้ำมันเบาเมื่อเทลงน้ำย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ


ทำกรรมดี ย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนนับถือยกย่องบูชา เฟื่องฟุ้งฟูลอยน้ำ เหมือนน้ำมันลอย ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย อิจฉา ริษยาแช่งด่าให้จมก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญพยายามทำแต่กรรมดีๆ โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุขและผู้ที่มีความเจริญประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือผู้ที่ประกอบกรรม ทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง


… โอวาทธรรมโดย เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกโก

********

Cr.facebook เพจคนบ้าหนังสือ

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กล้วยน้ำว้า


..ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลอะไรมาก มีประโยชน์หลายอย่าง ใบตอง หัวปลี กล้วยตาก กล้วยอบ กล้วยบวดชี ฯลฯ..เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้วต้นกล้วยเอาไป"แทงหยวก"ตกแต่งที่"กองฟอน"(เชิงตะกอน)..!!??

                 ...........
             
ประหยัดไปได้อีกราวๆ 400.- บาท..!!🤣🤣🤣


จากนั้นก็เป็นกล้วยตาก


ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่าน..
 

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

การก่อสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



29 ตุลาคม 2565




ญาติธรรมเตรียมอาหาร




28 ตุลาคม 2565



26 ตุลาคม 2565





26 ตุลาคม 2565



24 ตุลาคม 2565








23 ตุลาคม 65 เทฐานชั้นที่ 2


21 ตุลาคม 65 ศรัทธาจากญาติธรรมที่เทศบาลคลองหลวง


19 ตุลาคม 2565 

16 ตุลาคม 2565
หมู่บ้านร่มรื่นกรีนพาร์ค ซอยคุณพระ คลองหลวง ปทุมธานี
**********
ประวัติความเป็นมา












 


วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565