หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

เก็บมาฝากจากไลน์...ให้โอกาส..


#อ่านให้จบนะครับ
ในงานแต่งงานงานหนึ่ง  ชายหนุ่มดูภูมิฐานมาร่วมงานแต่งงานของเพื่อนร่วมชั้นเรียนประถมของเขาในขณะที่งานเลี้ยงกำลังสนุกสนานและพูดคุยกันระหว่างเพื่อนฝูง สายตาของชายหนุ่มคนนั้นก็ได้เห็นชายแก่คนหนึ่งหัวใจของเขาก็เริ่มเต้นแรงขึ้นและเหงื่อของเขาเริ่มออกจากฝ่ามือของเขา แล้วชายหนุ่มคนนั้นก็รวบรวมความกล้าเดินเขาไปหาชายแก่คนนั้น ใช่ชายคนนั้น คือครูของเขาเมื่อ 30 ปีก่อน

ชายหนุ่ม: ครูครับจำผมได้ไหมครับ

ชายแก่: ขอโทษนะพ่อหนุ่มผมจำไม่ได้จริงๆ

ชายหนุ่ม:ครูครับ ทำไมครูถึงจำผมไม่ได้ครับ ผมคือลูกศิษย์ครูที่เคยขโมยนาฬิกาเพื่อนในห้อง ซึ่งในวันนั้น เพื่อนได้ไปฟ้องครูว่านาฬิกาของเขาหายและครูก็ได้ให้พวกเราออกไปยืน อยู่หน้าห้อง หันหน้าเข้ากำแพงให้พวกเราทั้งหมดหลับตา และครูก็เริ่มค้นกระเป๋า ของพวกเราทีละคนทีละคน จนกระทั่ง ครูได้นำนาฬิกา ที่อยู่ในกระเป๋าของผมออกมาและครูเอง ก็ได้นำนาฬิกานี้ คืนให้กับเจ้าของนาฬิกาไป โดยที่ครู ไม่ได้บอก ว่า ผมเป็นคนขโมยไป ซึ่งตัวผมเอง ในขณะที่ครูค้นนั้น ใจของผมคิดอยู่ตลอดเวลาว่า ผมเองจะมองหน้าเพื่อนๆในห้องอย่างไร ผมคงต้องอับอายและไม่สามารถที่จะ อยู่ในโรงเรียนต่อไปได้ แต่ทว่า ครูไม่เคยเรียกผมไปด่าว่า และไม่เคยนำเรื่องของผมไปบอกให้ใครฟังเลย และนับตั้งแต่วันนั้น  ผมเอง ก็ไม่กล้าที่จะไปขโมยของใคร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม

ชายแก่ : อ้อ  พ่อหนุ่มทำไมฉันถึงจะจำไม่ได้หล่ะ เพราะในวันนั้น  นอกจากที่ฉันจะให้พวกเธอหลับตากันทั้งหมด ตัวของครูเอง ในขณะที่ค้นอยู่ ครูก็หลับตาของครูด้วย เพื่อที่ครูเอง จะได้ไม่มีจิตใจที่จะเกลียดชัง  คนที่ขโมยนาฬิกาไปในวันนั้น ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของครู  ครูคิดว่า สิ่งที่เธอทำในวันนั้น เธอจะได้รับบทเรียนของเธอ ซึ่งในวันนี้มันก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ในวันนั้นที่ครูทำเช่นนี้ มันเป็นการให้ บทเรียนที่ดีสำหรับเธอแล้ว และในวันนั้นครูก็ไม่จำเป็น ที่จะต้องให้เธอได้รับความอับอายเสียหาย และครูก็ไม่เห็นประโยชน์อันใด ในการที่จะต้อง ป่าวประกาศและสืบหา คนที่ขโมย เพราะตัวของพวกเธอเอง คือเด็กที่ไร้เดียงสา ยังไม่มีความรู้ การกระทำของครูในวันนั้น มันจึงเป็นประสบการณ์ ที่ตัวเธอเอง ได้รับมันด้วยกับตัวเอง  
....................... 
: ครูหนุ่มแปลจากเรื่องเล่าของรายการทีวีหนึ่งของอาหรับ

ได้อะไรจากเรื่องนี้บ้างไหมครับ
*****************
Cr.Fwd Line

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

รายชื่อผู้บริจาคเพื่อกองทุนสวัสดิการรุ่น

รายชื่อผู้บริจาคเพื่อกองทุนสวัสดิการและกิจกรรมของรุ่น 09 ในวาระ 54 ปี นาวี 09

  1. คุณลิปิกรณ์ พันธุ์ไชยศรี  ๒๐,๗๐๐.- บาท
  2. น.อ.สมบัติ น่วมนิ่ม             ๑๐,๐๐๐.- บาท
  3. เพื่อน นย.ไม่ประสงค์ออกนาม  ๑๐,๐๐๐.- บาท
  4. พ.จ.อ.ชลิต  เกิดชื่น           ๕,๐๐๐.- บาท
  5. ร.อ.สุรเดช  กันเกตุ            ๕,๐๐๐.- บาท
  6. น.ต.สรรเสริญ ลายประดิษฐ์  ๓,๐๐๐.- บาท
  7. น.ท.ชาญณรงค์ ไวทยะพัธน์ ๓,๐๐๐.- บาท
  8. พ.จ.อ.มนัส ประสิทธิธัญการ  ๒,๐๐๐.- บาท
  9. พระ น.ต.กรุ่น กุมสติ   ๒,๐๐๐.- บาท
  10. น.อ.(พ)สำราญ ศรีโมรา  ๑,๒๑๗.- บาท
  11. พล.ร.ต.จิระชัย กันตะสุวรรณ ๑,๒๐๐.- บาท
  12. น.อ.(พ)สำราญ กองศรี  ๑,๒๐๐.- บาท
  13. น.อ.ธนธร ทองวิจิตร  ๑,๒๐๐.- บาท
  14. น.อ.เพิ่ม ศรีจันทึก      ๑,๒๐๐.- บาท
  15. จ.อ.เถลิงชัย พืชสิงห์ ๑,๒๐๐.- บาท
  16. น.อ.ปรีชา เยี่ยมสวัสดิ์ ๑,๒๐๐.- บาท
  17. พ.จ.อ.วิเชียร มามีเกตุ ๑,๒๐๐.- บาท
  18. น.อ.(พ)อำนวย รอดทอง ๑,๒๐๐.- บาท
  19. น.ต.บุญส่ง แจ่มเที่ยงตรง ๑,๐๐๐.- บาท
  20. น.อ.(พ)ประดิษฐ์ ศรีเฉลิม  ๑,๐๐๐.- บาท
  21. กัปตัน ปิติยะนันท์ จันทร์เพ็ง ๑,๐๐๐.- บาท
  22. น.อ.(พ)รังสิต นาคน้ำ      ๑,๐๐๐.- บาท
  23. น.ท.สุรพล ไกรศิริ           ๑,๐๐๐.- บาท
  24. น.ต.ประนต บุษบงค์        ๑,๐๐๐.- บาท
  25. กัปตันมาโนช เพ็งแจ่มศรี ๑,๐๐๐.- บาท
  26. น.อ.(พ)ทวีศักดิ์ สุภานันท์ ๑,๐๐๐.- บาท
  27. น.ต.สมหมาย จินดาศิริพันธุ์ ๑,๐๐๐.- บาท
  28. พ.จ.อ.สำรวย นาคลำภา  ๑,๐๐๐.- บาท
  29. น.ท.อนันต์ ชาตตระกูล    ๑,๐๐๐.- บาท
  30. น.อ.(พ)ชูศิลป์ สืบปรุ        ๑,๐๐๐.- บาท
  31. พ.ต.ท.ภัทรเดช ศรีสุวัฒน์ ๑,๐๐๐.- บาท
  32. น.ท.บุญญานนท์ สิทธิไชย ๑,๐๐๐.- บาท
  33. น.ท.พิสิษฐ์  อนุพันธ์            ๑,๐๐๐.- บาท
  34. ร.อ.ไพฑูรย์ โพธิ์ศรี             ๑,๐๐๐.- บาท
  35. น.อ.สุรพล ศิริธำรงค์            ๑,๐๐๐.- บาท
  36. น.อ.เสรี อินทวี                       ๑,๐๐๐.- บาท
  37. สมาคมศิษย์เก่าชุมพลทหารเรือ ๑,๐๐๐.- บาท
  38. อาจารย์ศรีวรรณ บุญคล้อย ๑,๐๐๐.- บาท
  39. พ.ต.ท.ชัยพจน์ ศรีม่วง     ๑,๐๐๐.- บาท
  40. คุณประจวบ ขำทั่ว            ๑,๐๐๐.- บาท
  41. น.ท.สำเริง เนียมทอง        ๑,๐๐๐.- บาท
  42. น.อ.กวี  อุทัย                      ๘๐๐.- บาท
  43. น.ท.บุญโชติ ตั้งเจริญ       ๘๐๐.- บาท
  44. พ.ต.ท.สุรันต์ คลีฉายา      ๘๐๐.- บาท
  45. น.ต.บุญเชิด วงศ์วีระขันธ์ ๘๐๐.- บาท
  46. น.ท.จำลอง กาเผือก          ๗๐๐.- บาท
  47. น.ต.ธรรมนูญ ปรีชา           ๗๐๐.- บาท
  48. คุณระเบียบ รอดรัตนาทูล  ๗๐๐.- บาท
  49. น.อ.(พ)ประสพโชค วุฒิสาร ๖๘๓.- บาท
  50. พล.ร.ต.วิติ บัวศรี                 ๖๐๐.- บาท
  51. อาจารย์วิจิตร ชูสกุล           ๖๐๐.- บาท
  52. น.อ.(พ)อุดม มะลิมาตย์       ๕๐๐.- บาท
  53. น.ต.อุดม คุ้มพงษ์                 ๕๐๐.- บาท
  54. กัปตันพยุง เนื่องคำมา        ๕๐๐.- บาท
  55. น.ต.ไชโย ข่าทิพย์พาที       ๕๐๐.- บาท
  56. พระธนวนต์ โกมารชุน         ๕๐๐.- บาท
  57. น.อ.ประทีป อินสุข                ๕๐๐.- บาท
  58. น.อ.กิตติศักดิ์ ประทุมวงษ์   ๕๐๐.- บาท
  59. น.อ.วสันต์ เบี้ยวน้อย            ๔๐๐.- บาท
  60. น.อ.ประเสริฐ ส้มทอง           ๔๐๐.- บาท
  61. น.ต.อำนวย ทองทา               ๔๐๐.- บาท
  62. น.อ.ประเสริฐ ไชยสิน            ๔๐๐.- บาท
  63. น.อ.ปราโมทย์ มงคล             ๓๐๐.- บาท
  64. น.ต.ศรีธนะ วิลามาศ              ๓๐๐.- บาท
  65. น.ท.ศักดิ์ บุญเจิม                   ๓๐๐.- บาท
  66. น.ต.สมาน กัวสงฆ์                  ๓๐๐.- บาท
  67. คุณสุเทพ นิลศรี                     ๓๐๐.- บาท
  68. น.ท.มานิจ โพธิ์รัศมี                ๓๐๐.- บาท
  69. ร.ท.จรรยา เกตุเมฆ                ๓๐๐.- บาท
  70. น.ต.พีระ เหมือนแม้น              ๓๐๐.- บาท
  71. น.ต.สุวัช แสงสว่าง                  ๓๐๐.- บาท
  72. พ.ต.ท.ธวัช ช้อยเพ็ง               ๓๐๐.- บาท
  73. น.อ.อาวุธ โชติธรรม                ๓๐๐.- บาท
  74. น.ต.กนก รัตนผกา                   ๒๐๐.- บาท
  75. น.อ.กมล กิ่งพุฒ                       ๒๐๐.- บาท
  76. น.อ.จรูญ แก้วจรัส                    ๒๐๐.- บาท
  77. น.ต.นิมิตร ไทยเจริญ               ๒๐๐.- บาท
  78. น.อ.สมชาย จันทรพฤกษ์        ๒๐๐.- บาท
  79. คุณสุรินทร์ ธีระนาวิน               ๒๐๐.- บาท
  80. น.อ.บำเพ็ญ บำเพ็ญผล            ๒๐๐.- บาท
  81. น.ต.ประสงค์ คงคีรี                    ๒๐๐.- บาท
  82. น.ท.สมิง หลาดไธสง                ๒๐๐.- บาท
  83. น.ต.สวัสดิ์ กงแก้ว                     ๒๐๐.- บาท
  84. คุณไพศาล พูลสังขะวโล         ๒๐๐.- บาท
  85. จ.อ.เกษม ผลสัมฤทธิ์               ๒๐๐.- บาท
  86. น.ท.เกียรติพงษ์ อิสสระกุล      ๒๐๐.- บาท
  87. น.ต.ทวีศักดิ์ อุตรวิเศษ             ๒๐๐.- บาท
  88. น.ต.ธนู เพิ่มพูล                         ๒๐๐.- บาท
  89. จ.อ.นคร ฤทธิ์เดช                     ๒๐๐.- บาท
  90. จ.อ.นิรัตน์ สุทธิพร                     ๒๐๐.- บาท
  91. พ.จ.อ.วิจิตร เฟื่องขจร              ๒๐๐.- บาท
  92. น.ต.วิจิตร อิ่มใจ                         ๒๐๐.- บาท
  93. น.ต.สิทธิโชค เสมา                    ๒๐๐.- บาท
  94. คุณสุมิตร อิ่มเปรมบุญศักดิ์      ๒๐๐.- บาท
  95. จ.อ.เสงี่ยม ขาวคง                      ๒๐๐.- บาท
  96. น.อ.(พ)โสภณ อิ่มกมล               ๒๐๐.- บาท
  97. จ.อ.อภิวัชร์ บรรลือ                     ๒๐๐.- บาท
  98. น.อ.(พ)โกมล คนซื่อ                   ๒๐๐.- บาท
  99. น.อ.ธรรมนูญ โกสียรัตน์             ๒๐๐.- บาท
  100. น.อ.นิวัฒน์ เศรษฐจันทร์             ๒๐๐.- บาท
  101. น.อ.(พ)มนตรี คัมภิรานนท์          ๒๐๐.- บาท
  102. จ.อ.วันชัย จิตรเพชร                    ๒๐๐.- บาท
  103. ร.ต.วิชัย แก่นสาร                         ๒๐๐.- บาท
  104. น.อ.(พ)เสริมศักดิ์ ยลสิริธรรม     ๒๐๐.- บาท
  105. น.อ.กองมี ขุนแข็ง                        ๒๐๐.- บาท
  106. ร.อ.บุญเจือ หินจิตร์                      ๒๐๐.- บาท
  107. ร.ท.วินัย เวชสิทธิ์                         ๒๐๐.- บาท
  108. น.อ.ศุภชัย ประชากิจ                  ๒๐๐.- บาท
  109. น.อ.สมนึก นาคสมบุญ                 ๒๐๐.- บาท
  110. น.อ.สมนึก ยวงสะอาด                  ๒๐๐.- บาท
  111. ร.ท.สรศักดิ์ ฮวบดี                         ๒๐๐.- บาท
  112. พ.จ.อ.อานนท์ บุญพยุง                ๒๐๐.- บาท
  113. น.ต.เกษม ศิริปิ่น                            ๒๐๐.- บาท
  114. ร.ต.เดชา เปรมมณี                        ๒๐๐.- บาท
  115. น.ท.ทัยวัฒน์ พาทองคำ               ๒๐๐.- บาท
  116. น.ท.ประยูร ชูพุทธพงษ์                ๒๐๐.- บาท
  117. น.ท.มงคล พรหมรุ่งเรือง              ๒๐๐.- บาท
  118. น.ท.วีระ อุ่นสกุล                             ๒๐๐.- บาท
  119. ร.อ.สมศักดิ์ ยศศรี                          ๒๐๐.- บาท
  120. น.อ.สำเริง แทนวันดี                       ๒๐๐.- บาท
  121. พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ศรีคล้าย                 ๒๐๐.- บาท
  122. คุณประจวบ แก้วกอง                     ๒๐๐.- บาท
  123. น.ต.ภิญโญ เทียมตระกูล                ๒๐๐.- บาท
  124. น.อ.ยงยุทธ อิงสุข                           ๒๐๐.- บาท
  125. คุณวิเชียร รักจิตร                           ๒๐๐.- บาท
  126. น.อ.สำรวย กรองทอง                     ๒๐๐.- บาท
  127. คุณอุดร เขียวอินทร์                        ๑๐๐.- บาท
  128. น.อ.สถิตย์ กุลณาวรรณ                  ๑๐๐.- บาท

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

..แค่สัญญา..


สมัยก่อนมีนักวิชาการคนหนึ่ง ชอบอ่านหนังสือมาก เป็นผู้รู้ เป็นนักปราชญ์ ได้รับเชิญไปอภิปรายและบรรยายในที่ต่างๆ เขาพยายามหาคำสอนเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ได้เท่าไรก็ยังรู้สึกว่า...มันยังไม่ใช่...มันจะต้องมีอะไรที่ลึกซึ้งกว่านี้อีก...ที่เขารู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่เพราะคำสอนที่ได้อ่าน ได้ศึกษาแล้วยังไม่ลึกซึ้ง แต่เพราะตัวเขาเองยังเข้าไม่ถึงคำสอนนั้น และถ้าเอาแค่ระดับสัญญา ระดับความคิด มันย่อมไม่มีจุดอิ่ม

เมื่อเรากล่าวถึง “กาม” คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกามราคะหรือความต้องการทางเพศเป็นหลัก นั่นเป็นกามระดับหยาบที่สุด การได้รับความสุขจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ไม่ว่าจากตัวไหนก็เป็นกามทั้งนั้น กามจากความคิดก็มี ซึ่งบางทีมันลึกซึ้งและปล่อยยากกว่ากามสุขที่ได้จากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเสียอีก เวลาจิตเพลินไปกับความคิด ทฤษฎี ปรัชญา มันก็เหมือนกับเราเพลินกับอาหารการกิน

นักวิชาการคนนี้ก็เป็นแบบนี้ เมื่อเขาได้ข่าวว่ามีพระอาจารย์รูปหนึ่งที่บรรลุธรรม แต่มีข้อวัตรปฏิบัติแปลกๆ คืออยู่บนต้นไม้ ไม่ได้อยู่ในกุฏิหรือใต้ต้นไม้ ท่านทำกุฏิอยู่บนต้นไม้เลย การจะไปกราบท่านก็ยากแสนยาก นักวิชาการคนนี้คิดว่า นี่อาจจะเป็นปรัชญาชิ้นสุดท้ายที่จะทำให้เขาบรรลุได้ จึงเดินทางอย่างลำบากลำบนหลายเดือน ขึ้นเขาลงห้วยเข้าป่า ทรมานมาก สุดท้ายก็ไปถึงที่อยู่ของพระอาจารย์รูปนี้ เขาเข้าไปกราบที่ใต้ต้นไม้ และนิมนต์หลวงพ่อให้เทศน์ธรรมะที่สูงที่สุดที่หลวงพ่อพอจะถ่ายทอดได้ หลวงพ่อจึงสอนว่า...ให้ละบาปกรรมทั้งปวง บำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ชำระจิตใจ ของตนให้ขาวสะอาด...นักวิชาการคนนี้รู้สึกผิดหวังจนอดที่จะอุทานออกมาไม่ได้ว่า...คำสอนนี้ แม้แต่เด็กห้าขวบก็รู้แล้วครับ...ช่างไม่สมเกียรตินักปราชญ์อย่างเขา หลวงพ่อบอกว่า...ใช่...ถูกต้อง แม้แต่เด็กห้าขวบก็เคยได้ฟังคำสอนนี้ แต่คนอายุ ๕๐ ๖๐ ๗๐ ปี ก็ยังทำไม่ได้เลย...คือ นักปราชญ์คนนี้คิดว่า การบรรลุธรรมเหมือนเป็นจิ๊กซอว์ที่จะต้องเอาชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน แต่จิ๊กซอว์มันไม่จบเสียทีและอันนี้เรียกว่าเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้าย ซึ่งกลับกลายว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่เป็นเรื่องที่เขามองข้าม เขาประมาท คิดว่าฉันเป็นนักปราชญ์ อ่านหนังสือ อ่านคัมภีร์มากมาย มีความรู้บาลีสันสกฤตทุกอย่าง แต่ที่จริงแล้ว ในภาคปฏิบัติ สิ่งที่ลึกซึ้ง ก็คือสิ่งที่เรายังทำไม่ได้ เช่น ถ้าหากว่าเรายังรักษาศีลห้าไม่ได้ ศีลห้าก็เป็นเรื่องลึกซึ้งสำหรับเรา นี่แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจ เพราะถ้าเราเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมแล้ว ไม่รักษาศีลห้าไม่ได้ คนที่ไม่รักษาศีลห้าแสดงว่าแม้แต่ความเข้าใจพื้นๆ เรื่องกฎแห่งกรรมก็ยังไม่มี เพราะฉะนั้น กฎแห่งกรรมระดับนี้ก็ยังเป็นเรื่องลึกซึ้งสำหรับเขา

พระอาจารย์ชยสาโร
*******
Cr.https://www.facebook.com/318196051622421/posts/2539373206171350/

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

แก่นของพระพุทธศาสนา

"ถ้าถามว่าอะไรคือแก่นของพระพุทธศาสนา...
...ตอบได้ไหม...
เข้าถึงแก่นหรือยัง...."


**********

Cr.Mp3 ธรรมบรรยาย เขมรังสี ภิกขุ  วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา