วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

รอยแตกบนแก้ว


"รอยแตกบนแก้ว"

หลวงพ่อชา ยกแก้วขึ้น แล้วถามอาจารย์พรหมว่า "เธอเห็นรอยแตก ในแก้วใบนี้ไหม พรหมวังโส?"
อาจารย์พรหมคิดว่า "แก้วก็ดูปรกติ ไม่มีร้อยราว"
หลวงพ่อชาพูดต่อว่า "ดูให้ดีๆ ซิ มันมีรอยแตกเล็กๆ บนแก้วใบนี้ สักวัน แก้วใบนี้มันต้องแตก"

ในตัวเราทุกคน ล้วนแต่มีรอยแตกเล็กๆ นับตั้งแต่เราเกิด มันบอกให้เรารู้ว่า สักวัน ชีวิตของเราทุกคนต้องจบสิ้น มันจะจบแน่นอน เรารู้ดี แต่เพราะเราโดนอวิชชา ครอบงำเอาไว้ ทำให้เราไม่ได้คิดถึงมัน

สักวันเราต้องจากกัน ความจริงข้อนี้ ที่พระบอกให้เราตระหนัก มิได้ให้เรากลัว หรือคิดว่า ฉันจะไม่รักใครอีกแล้ว!! เพื่อที่ฉันจะได้ไม่ต้องเสียใจ ตอนฉันต้องสูญเสียเขา หรือจากเขาไป

แต่ท่านบอกเพื่อที่ว่า เราจะได้รู้เท่าทัน ความเป็นจริงของโลกและชีวิต ว่า ทุกสิ่งที่อยู่ตอนนี้ มันไม่เที่ยง มันจะเปลี่ยนแปลง

เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ว่า สิ่งที่เรามีเราอยู่ มันจะไม่อยู่กับเราชั่วนิรันดร์ เวลาของเรามีจำกัด เราจะได้มีท่าทีที่ถูกต้องกับสิ่งที่เรามีอยู่ ณ เวลานี้ เราจะมีเมตตาต่อคนที่อยู่ด้วยในทุกวันนี้มากขึ้น เพราะเราจะรู้ว่า เราอยู่ด้วยกัน แค่ช่วงเวลาสั้นๆ

เราจะหยุดความใจร้าย หยุดทำร้าย หยุดความเอาชนะ หยุดการกดดัน หรือบังคับให้ทุกอย่าง เป็นดั่งใจของเรา เราจะผ่อนปรน เราจะใจเย็น และรับฟังมากขึ้น เราจะเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และ ให้อภัยมากขึ้น

เพราะเรารู้ว่า เวลาที่เราจะอยู่ด้วยกัน มันหมดลงไปทุกวัน เวลาติดปีกบิน และพรุ่งนี้ อาจจะไม่มีอีกแล้ว สำหรับเรา เมื่อถึงวันที่เราต้องจากกัน เราจะได้ไม่ต้องเสียใจว่า ทำไมเราถึงไม่ทำดีกับเขา เราจะเก็บความทรงจำที่ดีต่อกัน เหลือไว้ให้คิดถึง ยามเมื่อเขาหรือเรา ไม่มีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้แล้ว

ในวันสุดท้าย เราจะเช็ดน้ำตา และพูดกับตัวเองว่า
"ฉันรู้อยู่แล้ว ว่าวันนี้ต้องมาถึง 'เพราะฉันเห็นรอยแตกเล็กๆ บนแก้วนั้น' ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว..."

-ธรรมะจาก หลวงปู่ชา สุภัทโท เล่าโดย ท่านพรหมวังโส
Cr.via line

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

การปฎิบัติที่ทำให้ถึงความหลุดพ้น


     ปฏิปทาที่ทำให้ถึงความหลุดพ้น ๔ ประการ

    " นักปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงธรรม หรือเรียกว่าผู้เป็นปฏิปทานั้น แยกได้ ๔ ประเภท ดังที่ปรากฏไว้ในบทสวดพระสหัสนัย คือ
            ๑.ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
            ๒.ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
            ๓.สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
             ๔.สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว "

                                         พระอาจารย์ธัมมวิชชา ภิกษุณี


    ปฏิปทาทางเดินที่ทำให้ถึงความหลุดพ้น ๔ ประการ คือ ต้องพิจารณาให้ดี ต้องรู้เหตุที่มาและรู้ผลอานิสงค์ที่จะเกิดขึ้นทำให้ปฏิบัติได้ถูกทาง สร้างเหตุได้ถูกต้องก็จะทำให้เดินทางถึงจุดหมายได้ถูกทางและถูกต้องเร็วไว ไม่ยาก ไม่ลำบาก ง่ายๆ สบายๆ
     ๑ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ปฏิบัติธรรมก็ยาก เข้าถึงธรรมก็ยาก คือผู้ปฏิบัติที่มีโลภ โกรธ หลง มากแรงกล้า ต้องทุกข์อยู่ตลอดเนืองๆ จะปฏิบัติธรรมก็ยาก มีสิ่งขัดขวางตลอด จะเจริญภาวนากรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ จะเจริญสมาธิภาวนา เช่น อสุภะ แต่มีอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุเข้าถึงธรรมได้ช้าได้ยาก
      อานิสงค์ที่ทำให้ต้องปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ปฏิบัติธรรมก็ยาก เข้าถึงธรรมก็ยาก เพราะไม่เคยให้ทานสม่ำเสมอมาก่อน ไม่เคยตักบาตรถวายภัตตาหารและสร้างเสนาสนะมาก่อน ไม่เคยสนับสนุนคนอื่นไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญภาวนามาก่อน  จึงทำให้ต้องลำบากเวลาจะไปปฏิบัติ ปัจจัย ๔ ก็ไม่พร้อม อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค ก็ไม่พร้อม และตนเองเป็นคนไม่ฝึกจิต ไม่ปฏิบ้ติธรรมมาก่อน เมื่ออดีตไม่เคยสะสมมา เมื่อไม่เคยฝึกจิตมาก่อน จึงทำให้เข้าถึงธรรมยาก
    ๒.ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ปฏิบัติธรรมก็ยาก แต่เข้าถึงธรรมง่าย ผู้ปฏิบัติที่มี โลภ โกรธ หลงมากแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์อยู่ตลอดเนืองๆ จะไปปฏิบัติธรรมก็ยาก มีสิ่งขัดขวางตลอด จะเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ จะเจริญสมาธิภาวนา เช่น อสุภะ แต่มีอินทรีย์แก่กล้าจึงบรรลุธรรมได้เร็ว
     อานิสงค์ที่ทำให้ต้องปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ปฏิบัติธรรมยาก แต่เข้าถึงธรรมง่าย เพราะไม่เคยให้ทานสม่ำเสมอมาก่อน ไม่เคยตักบาตรถวายภัตตาหาร และสร้างเสนาสนะมาก่อน ไม่เคยสนับสนุนคนอื่นไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญภาวนามาก่อน จึงทำให้ต้องลำบากเวลาปฏิบัติ ปัจจัย ๔ ไม่พร้อม อาหาร ที่อยู่อาศัย  เสื้อผ้า ยารักษาโรคก็ไม่พร้อม แต่ตนเองเคยเป็นคนฝึกจิต ปฏิบัติธรรมมาก่อน เมื่ออดีตสะสมมาและฝึกจิตมาก่อน จึงทำให้เข้าถึงธรรมง่าย
    ๓.สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ปฏิบัตธรรมก็ง่าย แต่เข้าถึงธรรมยาก ผู้ปฏิบัติที่มีความโลภ โกรธ หลง ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์ โลภ โกรธ หลง อยู่ตลอดเนืองๆ จะไปปฏิบัติธรรมก็ง่ายสะดวก ไม่มีสิ่งขัดขวางตลอด จะเจริญภาวนากรรมฐานที่มีอารมณ์น่าชื่นใจ จะเจริญสมาธิภาวนาฌาน ๔ อันเป็นสุขละเอียด จะเจริญกรรมฐาน เช่นแสงสว่าง อันมีอารมณ์สบาย แต่มีอินทรีย์อ่อนจึงบรรลุเข้าถึงธรรมได้ช้า
      อานิสงค์ที่ทำให้ต้องปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ปฏิบัติธรรมก็ง่าย แต่เข้าถึงธรรมยาก เพราะเคยให้ทานสม่ำเสมอมาก่อน เคยตักบาตรถวายภัตตาหาร และสร้างเสนาสนะมาก่อน เคยสนับสนุนคนอื่นไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญภาวนามาก่อน จึงทำให้ต้องสบายเวลาปฏิบัติ สะดวกสบายปัจจัย ๔ พร้อม อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรคก็พร้อม แต่ตนเองเป็นคนไม่เคยฝึกจิต ไม่ปฏิบัติธรรมมาก่อน เมื่ออดีตไม่เคยสะสมมา ไม่เคยฝึกจิตมาก่อน จึงทำให้เข้าถึงธรรมยาก
     ๔.สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก รู้ได้เร็ว ปฏิบัติธรรมก็ง่าย เข้าถึงธรรมก็ง่าย ผู้ปฏิบัติที่มีโลภ โกรธ หลง ไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์ โลภ โกรธ หลงอยู่ตลอดเนืองๆ จะไปปฏิบัติธรรมก็ง่ายสะดวก ไม่มีสิ่งขัดขวางตลอด จะเจริญภาวนากรรมฐานที่มีอารมณ์น่าชื่นใจ จะเจริญสมาธิภาวนาได้ฌาน ๔ อันเป็นสุขละเอียด จะเจริญกรรมฐาน เช่น แสงสว่าง อันมีอารมณ์สบาย แต่มีอินทรีย์แกร่งจึงบรรลุเข้าถึงธรรมเร็วไว
     อานิสงค์ที่ทำให้ต้องปฏิบัติสะดวก ทั้งที่รู้ได้เร็วปฏิบัติธรรมก็ง่าย เข้าถึงธรรมก็ง่าย เพราะเคยให้ทานสม่ำเสมอมาก่อน เคยตักบาตรถวายภัตตาหารและสร้างเสนาสนะมาก่อน เคยสนับสนุนคนอื่นไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญภาวนามาก่อน จึงทำให้ต้องสบายเวลาปฏิบัติ สะดวกสบายปัจจัย ๔ พร้อม อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรคก็พร้อม และตนเองเคยเป็นคนฝึกจิต ปฏิบัติธรรมมาก่อนเมื่ออดีตสะสมมาและฝึกจิตมาก่อนจึงทำให้เข้าถึงธรรมง่าย
(จากหนังสือ เรือนธรรม เรือนใจ ภูริทัตตา สามเณรี )





วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

ตายดีคืออย่างไร


ฯลฯ
    .....ในคัมภีร์พุทธศาสนาพูดถึงอยู่เสมอว่าอย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั่นว่า "มีสติ ไม่หลงตาย" ข้อความนี้ท่านเน้นอยู่เสมอ หมายความว่าในการดำเนินชีวิตที่ดีนั้น การสิ้นสุดของชีวิตก็ถือว่าเป็นตอนที่สำคัญ
    ที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญ ที่ว่าจะต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติ ไม่หลงตาย ท่านใช้คำว่า "อสมฺมุฬฺโห กาลํ กโรติ"
     ที่ว่าไม่หลงตาย คือมีจิตใจไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม ผ่องใส เบิกบาน แล้วก็ขยายความไปถึงการที่ว่า จิตใจนึกถึงหรือเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่ดี เราจึงได้มีประเพณีที่ว่าจะให้ผู้ตายได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม เช่น บทสวดมนต์ หรือคำกล่าวเกี่ยวกับพุทธคุณ อย่างที่เราใช้คำว่า "บอกอะระหัง" ก็เป็นคติที่ให้รู้ว่าเป็นการบอกสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวในทางใจ ให้แก่ผู้ที่กำลังป่วยหนักในขั้นสุดท้ายให้จิตใจเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวอยู่กับคุณพระรัตนตรัยเรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ได้ทำความดีมาเป็นต้น
      ไม่ว่าอะไรที่เป็นเรื่องดีงาม ทำให้จิตใจสดชื่นผ่องใส เราก็พยายามยกเอามาบอก เอามาแนะนำให้เป็นที่เกาะเกี่ยว หรือเรียกว่าเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตของผู้ป่วยอยู่กับสิ่งที่ดีงามนั้น จิตใจจะได้ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว แล้วก็มีสติ ไม่เป็นจิตใจที่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยหรือขุ่นมัวเศร้าหมองอยู่กับความทุกข์ทรมาน
     อย่างไรก็ตาม ยังมีการตายที่ดีกว่านั้นอีก คือให้เป็นการตายที่ใจมีความรู้ หมายถึงความรู้เท่าทันชีวิต จนกระทั่งยอมรับความจริงของความตาย  หรือความเป็นอนิจจังได้
      เพียงแค่ว่าคนที่จะตายมีจิตยึดเหนี่ยวอยู่กับบุญกุศลความดี  ก็นับว่าดีแล้ว แต่ถ้าเป็นจิตใจที่มีความรู้เท่าทัน จิตใจนั้นก็จะมีความสว่าง ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีความยึดติด  เป็นจิตใจที่โปร่งโล่งเป็นอิสระแท้จริง ขั้นนี้แหละถือว่าดีที่สุด
ฯลฯ
(จากหนังสือความจริงแห่งชีวิต พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต)

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

หน้าที่ต่ออริยสัจ....


ฯลฯ
ทุกข์ เรามีหน้าที่กำหนดรู้
สมุทัย เรามีหน้าที่แก้ไขบำบัด
นิโรธ เรามีหน้าที่ทำให้เป็นจริง
มรรค เรามีหน้าที่ปฏิบัติ ภาวนา
ฯลฯ
***********

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

นาบุญ


        พระพุทธองค์ตรัสไว้ในธรรมบท ขุททกนิกาย พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามงกุฏฯ เล่มที่ ๔๓ หน้า ๓๓๔ ว่า

 " พืชแม้มากที่บุคคลหว่านลงในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ชาวนาเองก็ไม่ปลื้มใจฉันใดทานแม้มีมากที่บุคคลให้แล้ว  ในบุคคลผู้ทุศีล ย่อมผลไม่ไพบูลย์ ทายกก็ไม่ปลื้มฉันนั้น
     ส่วนพืชแม้น้อยที่หว่านแล้วในนาดี ย่อมมีพลไพบูลย์ ชาวนาก็ปลาบปลื้มฉันใด ทานเล็กน้อยที่บุคคล ทำในเขตบุญ ในท่านผู้มีศีลมีคุณธรรมที่มั่นคง ย่อมอำนวยผลไพบูลย์ยังผู้ให้ให้ชื่นชมยินดีฉันนั้น "
      ภิกษุสงฆ์เปรียบเหมือนนา  ผู้ถวายเปรียบเหมือนชาวนา สิ่งของที่ถวายเปรียบเหมือนพืช เมื่อชาวนาหว่านพืชลงในนาที่ดี ผลย่อมไพบูลย์คือมีผลเป็นอันมาก การทำบุญก็เช่นเดียวกัน ถ้าทำกับภิกษุสงฆ์ที่ดี เพียบพร้อมไปด้วยสีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ยิ่งเป็นพระอรหันต์ด้วยแล้วยิ่งเป็นการดีมาก เปรียบเสมือนนาบุญที่ดี เมื่อทำไปแล้วย่อมได้บุญมาก สมดังพระพุทธองค์ตรัสว่า การให้ด้วยการพิจารณาพระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริญ
....................
จากหนังสือ บุญญานุภาพ  สุทธิปภาโส ภิกขุ

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

สวัสดีปีใหม่

  ภาพจากอินเตอร์เนต

เก็บมาฝากจากไลน์
═══ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
อ่านกี่รอบก็ชอบอยู่ดี..
ข้อคิดดีมาก..
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
1. เมื่อวาน
ไม่สามารถกลับไป
แก้ไขอะไรได้
จึงมีวันพรุ่งนี้
ให้เราได้ทำสิ่งดีๆต่อไป
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
2. คนเดียวเท่านั้น
ที่จะช่วยให้คุณผ่าน
ทุกปัญหาได้
คือ "ตัวคุณ"
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
3. เรื่องวุ่นวายบนโลก
มีอยู่ 2 อย่างเท่านั้นคือ
"ไปหลงรัก" และ
"ไปหลงเกลียด"
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
4. ความสบายใจ
ไม่ได้เกิดจาก
ทำทุกสิ่งให้ได้ดังใจ
แต่เกิดจากใจ
ที่ยอมรับว่า ไม่มีอะไร
ที่จะได้ดังใจเราไปทั้งหมด
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
5. ต่างคนต่างความคิด
ต่างจิตต่างใจ
อย่าดูถูกความคิดใคร
ถ้าความคิดต่าง
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
6. อ่านหนังสือออก สำคัญ
อ่านเหตุการณ์ออก สำคัญกว่า
อ่านคนอื่นออก สำคัญยิ่ง
อ่านตนเองออก สำคัญที่สุด
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
7. ถ้าคิดได้ ให้ช่วยคิด
ถ้าคิดไม่ได้ ให้ช่วยทำ
ถ้าทำไม่ได้ ให้ความร่วมมือ
ถ้าร่วมมือไม่ได้ ให้กำลังใจ
แม้ให้กำลังใจไม่ได้
ให้สงบนิ่ง
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
8. ละได้ ใจก็สะอาด
วางได้ ใจก็โล่ง
ปลงได้ ใจก็เย็น
อภัยได้ ใจก็สงบ
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
9. เงาจันทร์ เกิดจาก
ความนิ่งของน้ำ ฉันใด
ปัญญา เกิดจาก
ความนิ่งของใจ ฉันนั้น
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
10. ไม่ใช่ความทุกข์
ที่ทำให้เราคิดมาก
แต่เป็นเพราะเราคิดมาก
ทำให้เกิดความทุกข์
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
11. รู้จักให้ รู้จักรับ
รู้จักปรับ รู้จักให้อภัย
รู้จักแบ่ง รู้จักได้
รู้จักแข็ง รู้จักคลาย
ชีวิตจะเบาสบาย
และมีความสุข
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
12. หาที่สงบร้อยที่
ยังไม่ดีเท่าสงบที่ใจตน
รู้จักคนร้อยคน
ไม่ดีเท่ารู้จักตน
เพียงคนเดียว
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
13. เมื่อมี จงรู้จักให้
เมื่อได้ จงรู้จักพอ
เมื่อขอ จงรู้คุณค่า
คนเราเกิดมา ถึงเวลา
.........ก็ ต้องจากไป
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
14. สิ่งที่ย้อนไม่ได้ คือเวลา
สิ่งที่หนีไม่ได้ คือความตาย
สิ่งที่ชื้อไม่ได้ คือ สุขภาพ&ชีวิต
สิ่งที่มองไม่เห็น คือใจคน
สิ่งที่ต้องอดทน คือใจตัวเอง
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
15. ไฟไม่ได้ร้อน
ถ้าเราไม่เอาตัวเข้าไปใกล้
ทุกข์ใดๆก็ไม่ทำให้เราหนัก
ถ้าเราไม่เอาใจเข้าไปแบก
16. กำลังใจอาจหาได้
จากคนรอบข้าง
แต่ความเข้มแข็ง
เราต้องสร้างมันขึ้นเอง
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
17. บางครั้งกำลังใจ
นอกจากจะมีไว้ให้ใครๆ
ก็ต้องเก็บไว้ให้ตัวเองด้วย
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
18. เมื่อตัดสินใจ
ที่จะเดินไปข้างหน้า
ก็อย่าหวั่นไหวกับปัญหา
ที่จะต้องพบเจอ
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
19. คนมีปัญญา
มักมองเห็นโอกาส
ในทุกๆปัญหา
คนขาดปัญญา
มักมองเห็นปัญหา
ในทุกๆโอกาส
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
20. ทุกครั้งที่เรา ไม่เข้าใจกัน
ไม่ผิดที่จะโกรธ
แต่ผิดที่เราไม่ขอโทษกัน
════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═════
21. จงเป็นคนดี
คนเก่งและมีความสุข
แค่นี้ก็เป็นคนโดยสมบูรณ์แล้ว
═══════════ღஐƸ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒஐღ═══════════