วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

ความยิ่งใหญ่และความน่ากลัวของกรรม


..ฯลฯ..
     ความยิ่งใหญ่และความน่ากลัวของกรรม
    ท่านพระโมคคัลลาน์อรหันตอัครสาวกเบื้องซ้ายนั้น ท่านยิ่งด้วยอิทธิฤทธ์ ท่านนิพพานเพราะถูกโจรทุบ หลังจากที่ท่านพยายามหลบหนีอยู่แล้วนาน แม้ท่านจะหนีต่อไป ท่านก็ย่อมทำได้ เพราะท่านมีอิทธิฤทธ์ เหาะเหินเดินอากาศ ล่องหนหายตัวท่านสามารถทั้งสิ้น แต่ท่านก็ระลึกรู้ว่าได้ทำกรรมไม่ดีไว้แล้วในอดีต อันเป็นกรรมใหญ่ยิ่งนัก ดังนั้นเมื่อท่านปลงใจที่จะรับผลของกรรมที่ท่านทำแล้วนั้น ท่านก็ยอมให้โจรทุบจนนิพพาน นี่คือความยิ่งใหญ่น่ากลัวของกรรม
    ท่านพระโมคคัลลาน์ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านยังต้องรับผลแห่งกรรมไม่ดี   มีหรือที่แม้จะทำกรรมไม่ดีแล้วเราจะพ้นจากอำนาจของกรรมไม่ดีนั้นได้ .....
  *   กลัวการทำกรรมไม่ดีให้จริงใจ จะได้ไม่ทำกรรมไม่ดี 
  *  จะได้ไม่ต้องมีเวลารับผลไม่ดีแห่งกรรมไม่ดีมากมายต่อไป
  *   ที่ทำแล้วเป็นอันแล้วกัน ทำใจดังท่านพระองคุลีมาล 
       หันเข้าหาพระพุทธเจ้าให้เต็มที่
       หยุดกรรมไม่ดีให้เด็ดขาดให้ได้
..ฯลฯ..
(จากหนังสือ อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก)

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

สติ


..ฯลฯ..
      ..."สติ"สติเป็นธรรมที่เรารู้จักกันดี แปลว่าความระลึกได้ ระลึกได้อย่างไร ท่านบอกว่า สตินั้นมีลักษณะที่เป็นเครื่องดึงจิตไว้กับสิ่งนั้นๆ ซึ่งภาษาธรรมเรียกว่า "อารมณ์" ดึงจิตหรือกุมจิตไว้กับอารมณ์
      อารมณ์ในที่นี้ก็คือ สิ่งที่เราต้องเกี่ยวข้องทุกอย่าง สิ่งที่เรารับรู้ สิ่งที่ใจเรานึกถึงได้ เรียกว่า "อารมณ์" ไม่ใช่อารมณ์อย่างในภาษาไทย ในที่นี้เพื่อกันความสับสนกับภาษาไทยก็จะพูดว่า สิ่งแทนที่จะพูดว่าอารมณ์
      สติมีหน้าที่ดึงหรือตรึงจิตไว้กับสิ่งนั้นๆ ถ้าเราจะทำอะไรก็ให้จิตระลึกถึงสิ่งนั้น ดึงเอาไว้เหมือนเชือก สมมติว่ามีหลักปักไว้ และมีสัตว์ตัวหนึ่งเป็นต้นว่าลิงถูกเชือกผูกไว้กับหลักนั้น  จิตของเรานี้เปรียบได้กับลิงเพราะวุ่นวายมาก ดิ้นรนมาก อยู่ไม่สุข ท่านเปรียบว่าต้องผูกลิงเอาไว้กับหลัก มิฉะนั้นลิงก็จะหนีไปไม่อยู่กับที่ หรือหลุดไปเลย  สิ่งที่จะผูกลิงคือเชือก เมื่อเอาเชือกมาผูกลิงไว้กับหลัก ลิงไปไหนไม่ได้ ก็วนอยู่กับหลักหรือใกล้ๆหลัก
      ท่านเปรียบในทางธรรมว่า จิตนั้นเหมือนกับลิง หลักที่ผูกไว้นั้น เหมือนกับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องต้องทำในขณะนั้น จะเป็นกิจที่ต้องทำหรือเป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็คือหลักนั้น  เชือกที่ผูกก็คือสติ สติเป็นตัวที่ผูกจิตไว้กับหลักหรือสิ่งนั้น ดึงไว้ คุมไว้ กำกับไว้ ไม่ให้หลุดหายไป
      ถ้าเป็นสิ่งเฉพาะหน้า ซึ่งปรากฏหรือโผล่เข้ามา ก็เพียงแต่ดึงจิตไว้กับสิ่งนั้นๆ กุมไว้ กำกับไว้ไม่ให้หลุดลอยหรือผ่านหายไปไหน อย่างที่พูดกันว่า เวลาทำอะไรก็ให้ระลึกไว้ คือคอยนึกถึง สิ่งที่เรากำลังทำนั้น นึกถึงอยู่เรื่อยๆ ให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้ หรืออยู่กับจิตของเรา ไม่ให้คลาดไม่ให้พลัดกันไป อย่าให้สิ่งนั้นหลุดหายหรืออย่าให้จิตของเราฟุ้งซ่านล่องลอยไปที่อื่น
      แต่ที่นี้ ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างไกลออกไปไม่ปรากฏอยู่ เช่นเป็นเรื่องอดีตที่ผ่านไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ธรรมคือคำสอนทีได้ฟังมาก่อนหรือสิ่งที่ได้เล่าเรียนไว้ เมื่อหลายวันหรือหลายเดือนมาแล้ว สิ่งนั้นอยู่ห่าง สติก็ทำหน้าที่ดึงเอามา เมื่อกี้นี้ดึงไว้ไม่ให้ไปไหนให้อยู่กับสิ่งนั้น ทีนี้ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างก็ดึงเอามา หรือดึงจิตไปไว้กับสิ่งนั้นให้ไปอยู่ด้วยกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า สติ
      สติ ดึงเอาจิตมากำกับไว้กับสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่เราควรจะเกี่ยวข้อง ทำให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้ของจิต ไม่หลุดลอย ไม่หล่นหาย ไม่พลัดกันไปเสีย นี้คือหน้าที่ของสติ ประโยชน์ของสติก็อยู่ตรงนี้ ...
    ..ฯลฯ..
(จากหนังสือ โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 
******************

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

มหากรุณาธารณีสูตร


ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย
ปวงข้าไซร้ขอเป็นที่พึ่ง 
ซึ่งพร้อมมี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
มหากรุณาจิตธารณี
ประทานความ สมบูรณ์สุข
 ไกลอวิชชา พลังบุญผู้มีธรรม
พาโลกอันสว่าง ด้วยแสงธรรม ค้ำโลกา
ขอนอบน้อมองค์พระ ผู้เลิศปัญญา
 ทรงนำพาให้รู้เท่าทันบุญบาป
กิเลสทุกข์ทั้งปวง ความโลภ ความโง่เขลา
หลงโกรธ จงมลาย จางหาย
เป็นความบริสุทธิ์
ดั่งเช่นดอกบัวของพระโพธิสัตว์
ทรงนำพา สัตว์โลกหายโง่งมงาย
ซึ่งล้วนเป็นมหากรุณา
ธรรมอันใด ธรรมทรงดำรง
ขอพระองค์ ทรงบรรลุธรรม
นำพระนิพพาน สู่แดน พระพุทธภูมิฯ"
********

(บทสวดมหากรุณาธารณี) นะโมรัตนตรายายะ 
นะโมอายะชานะ 
สักการา เปโรชานะ โยกะระชายะ ตัททะกาทายะ อะระหะเต สังยาสัง พุทธายะ นะโมสังวา กัตทะกาเตเต อะระหะตาเต สังยาสัง พุทธเตเต นะโมอะยะอวโลเกเต โชระยะพุทธิสัตวายะ มหาสัตวายา มหากรุณิกายะ กาติยะทา โอม ธารา ธาระ ถิริถิรี ธุรู ธุรู อิติเว อิติชาเล ชาเล กุระชาเล กุระชาเล กุสสุเม กุสสุมา วาเร อิมิมิริชชิติ โชกะระมะ 
ปะระยะโช อา
********





ข้อมูลจาก  https://www.youtube.com/watch?v=vzHzEaXY9fQ
https://www.youtube.com/watch?v=-kNnQy1RUxM
https://www.youtube.com/watch?v=2qtxsKRAECY

,,,,,,,,,,,,,,,,,
ขอแนะนำ  มนตรา  สมาธิ   (สมาธิบำบัด)  

https://youtu.be/LVzZf8XMrQ4  คลิก

*************

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

หลักการใหญ่..ใช้ปัญญา


...ฯลฯ...
หลักการใหญ่:ปฏิบัติการด้วยเจตนาดีที่สุด
บนฐานแห่งปัญญาที่รู้ถ่องแท้ที่สุด
     ในโลกที่เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นนี้ จะมีป้ญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนแปลกๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จในการที่จะแก้ปัญหา จะมีให้ก็เฉพาะตัวหลักการ ซึ่งมนุษย์จะต้องรู้จักใช้ปัญญาไปปรับเข้ากับเรื่องในแต่ละกรณี
     ในขณะที่มนุษย์สมัยโบราณ อาจจะอยู่ง่ายๆ ด้วยสูตรสำเร็จ ที่ยึดถือปฏิบัติไปตามความเชื่อหรือศรัทธา แต่ในยุคปัจจุบันที่สูตรสำเร็จไม่เพียงพอ มนุษย์ต้องอยู่ด้วยหลักการ ที่ปฏิบัติโดยใช้ปัญญา และข้อสำคัญประการแรกก็คือ ต้องมีหลักการที่เป็นหลักได้จริงๆ
      ที่ว่าเราต้องอยู่ด้วยหลักการ แล้วเอาหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จนั้น ได้บอกแล้วว่ามีหลัก ๒ อย่างที่ต้องคำนึงคือ
      ๑.ความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างไร
      ๒.มนุษย์จะเอาอย่างไร
      ความจริงตามธรรมชาติ กับความต้องการของมนุษย์ จะต้องมาโยงกันว่า เมื่อความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างนี้ และเมื่อรู้ว่าความจริงเป็นอย่างนี้แล้ว มนุษย์จะเอาอย่างไร หรือปฏิบัติอย่างไร
      การรู้ความจริงนั้นเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของมนุษย์ที่สำคัญมาก เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษคือ ปัญญา มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีภูมิปัญญา และปัญญานี้ก็พัฒนาได้ จนกระทั่งถึงที่สุดเป็นโพธิ คือความตรัสรู้ซึ่งเป็นการเข้าถึงความจริงแท้
       ข้อสองคือการตัดสินใจของมนุษย์ว่าจะเอาอย่างไร เรียกว่า เจตนา
        สองอย่างนี้เป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาตัดสินและปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ แต่ในเมื่อคนทั่วไปหาได้รู้ความจริงของธรรมชาติอย่างถ่องแท้ไม่ เราจึงต้องมีข้อเตือนใจในการปฏิบัติ ๒ ประการ คือ
       ๑.ในขณะที่ตัวเองยังเข้าไม่ถึงความจริง มนุษย์จะต้องใช้ปัญญาให้มากที่สุด หาความรู้ในความจริงให้ดีที่สุดก่อนที่จะตัดสินใจ ให้การตัดสินใจหรือเจตนาที่จะเอาอย่างไรนั้นเกิดจากความรู้อย่างถ่องแท้มากที่สุด พูดง่ายๆ ว่าปัญญาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
       ๒.มีความไม่ประมาท ที่จะพัฒนาปัญญานั้นต่อไป
       เมื่อถึงขั้นนี้ เราก็เอาเกณฑ์สองอย่างนี้มาใช้ตัดสินว่า ในการกระทำแต่ละอย่างนั้น เราได้ทำไปโดย
       ๑.มีปัญญารู้ความจริงโดยศึกษาอย่างละเอียดลออถี่ถ้วนที่สุด พิจารณาค้นคว้าปรึกษาหารือกันรอบคอบที่สุดแล้วหรือยัง
       ๒.ตัดสินด้วยเจตนาดีที่สุดแค่ไหน เจตนาดีที่สุดในกรณีนี้ก็คือเจตนาที่ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มีความปรารถนาดี..
...ฯลฯ...
......................
(จากหนังสือ ความจริงแห่งชีวิต พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
......................
......................

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

กายต่ำ - จิตสูง


    มีวัดแห่งหนึ่ง กุฏิเจ้าอาวาสอยู่ต่ำที่สุดของพื้นที่ภายในวัด กุฏิของลูกวัด ตลอดถึงที่พักอุบาสกอุบาสิกาล้วนแต่อยู่บนเนินสูงทั้งสิ้น มีหมอดูคนหนึ่ง ได้เข้าไปหาท่านเจ้าอาวาสที่กุฏิ และได้กล่าวขึ้นว่า
   " ท่านครับ กุฏิหลังนี้ไม่เหมาะกับท่านเลย เป็นเจ้าอาวาสต้องอยู่บนพื้นที่สูง ที่ต่ำอย่างนี้จะเป็นสาเหตุให้พระลูกวัด และคนในวัดไม่เคารพท่าน ชีวิตจะตกต่ำ "
   ท่านเจ้าอาวาสจึงพูดว่า
   " ทะเลอยู่ที่ต่ำ แม่น้ำทุกสายต้องไหลลงสู่ทะเล สิ่งมากมายมีค่ามหาศาล ก็รวมอยู่ในทะเล เป็นผู้นำอยู่ต่ำดีที่สุด มีความอ่อนน้อมถ่อมตน กายอยู่สูง..จิตมักต่ำ กายอยู่ต่ำ..จิตมักสูง"
...................
(จากหนังสือ นิทานพุทธะ พระคัมภีรญาณ  อภิปุญโญ)

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

ชีวิตสี่แบบ

ชีวิตมีสี่แบบ

. มาดี อยู่ดี ไปดี
. มาไม่ดี อยู่ดี ไปดี
. มาดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี
. มาไม่ดี อยู่ไม่ดี ไปไม่ดี

ชีวิตสี่แบบ ขึ้นอยู่กับ 

การกระทำ ปัจจุบัน
คิดดี พูดดี ทำดีไว้ ชีวิตจะดีขึ้นเรื่อยๆ
ชีวิตคนเหมือนเรือล่องในแม่น้ำ
กุศล บุญ เหมือนน้ำในแม่น้ำ
อกุศล บาป เหมือนตอไมัใต้แม่น้ำ
บุญน้อย ระดับน้ำต่ำ 
เรือชีวิตแล่นชนตอไม้ใต้ได้
เกิดอุปสรรค ชีวิตอยู่ไม่ดี ลำบากบ่อยๆ
บุญมาก ระดับน้ำสูง
เรือชีวิตแล่นเหนือพ้นตอไม้ข้ามได้
เกิดอุปสรรคน้อย ชีวิตอยู่ดี สบาย
มีโอกาสสร้างบุญบารมี
หมั่นทำบุญไว้ สร้าง ทาน ศีล ภาวนา
อ่อนน้อม ขยัน อุทิศบุญ อนุโมทนาบุญ
ฟังธรรม เห็นตามความเป็นจริง
มีสติกำกับเสมอ ตามให้ทันไม่ว่าทำอะไร
จิตจะระลึกถึงบุญได้ง่ายไปดี
ภูริทัตตา



วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

ปฏิบัติถูก มีแต่สุข



     ..ฯลฯ..
ปฎิบัติถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี
     คนเราเกิดมาย่อมปรารถนาความสุข แต่บางทีเราไปนึกถึงพุทธภาษิตแห่งหนึ่ง มีข้อความเป็นทำนองหลักการ หรือคำสอนเบื้องต้นว่า " ชาติปิ ทุกขา" การเกิดเป็นทุกข์ โยมก็นึกว่า อ้าว ในเมื่อการเกิดเป็นทุกข์ แล้วนี้จะมาทำอย่างไรให้การเกิดเป็นสุข ก็จะขัดกับพุทธพจน์ไปสิ
     ขอให้เข้าใจว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การเกิดเป็นทุกข์นั้น พระองค์ตรัสตามธรรมชาติ เรียกว่าตามสภาวะ คือตามสภาวะของสังขาร หมายความว่าการเกิดนี้ก็ตกอยู่ใต้กฏธรรมชาติ
    กฏธรรมชาติก็คือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งสอนให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป มีการเปลี่ยนแปลง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องกฏของธรรมชาติ ซึ่งเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง
    แม้ทุกข์ในธรรมชาติ ที่เป็นสภาวะนั้น ยังไม่ใช่ทุกข์ในใจของเรา มันจะเป็นทุกข์แก่เราหรือไม่ ก็อยู่ที่เราปฏิบัติต่อมันถูกหรือผิด ท่านเพียงแต่บอกให้เรารู้ว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นความจริงอยู่อย่างนั้น เป็นเรื่องของธรรมชาติ
    สังขารทั้งหลายมันก็เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ มีความเปลี่ยนแปลงเป็นต้น อันนี้ไม่มีใครจะไปเถียงได้ แต่ที่นี้ถ้าเราปฏิบัติไม่ถูก ความทุกข์ในธรรมชาตินั้น ก็กลายเป็นทุกข์ในตัวเรา คนคือเราก็กลายเป็นทุกข์ไป เพราะว่าปฏิบัติไม่ถูกตามหลักธรรมชาติ
    แต่ถ้าปฏิบัติถูกต้อง เราก็ทำให้ทุกข์ที่อยู่ในธรรมชาตินั้นเป็นของธรรมชาติไปตามเรื่องของมัน เราไม่พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย นอกจากไม่พลอยเป็นทุกข์แล้ว ยังสามารถปฏิบัติให้เกิดความสุขได้ด้วย ถ้าปฏิบัติต่อทุกข์ถูกต้อง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราจะเป็นสุข
     "ทุกฺขํ ปริญเญยฺยํ" ทุกข์นั้นพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นปริญไญย คือเป็นสิ่งสำหรับรู้ รู้ทุกข์ คือรู้เท่าทันทุกข์ เรารู้เท่าทันทุกข์แล้วเราก็ไม่เป็นทุกข์
     การู้จักทุกข์ กับการเป็นทุกข์ นี่คนละอย่าง พระพุทธเจ้า ไม่เคยตรัสสอนให้เราเป็นทุกข์ มีแต่สอนให้เราเป็นสุข พระองค์ตรัสบอกว่าทุกข์นั้นสำหรับกำหนดรู้ คือให้เรารู้เท่าทันทุกข์ เพื่อเราจะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์เท่านั้นเอง
      ถ้าเราปฏิบัติต่อทุกข์ถูกต้อง เราก็เป็นสุข แล้วยิ่งกว่านั้นก็คือ สามารถทำให้ทุกข์เป็นปัจจัยของความสุขด้วย ผู้ปฏิบัติถูกต้อง สามารถทำให้ทุกข์เป็นปัจจัยของความสุข
      พระอรหันต์ท่านปฏิบัติต่อทุกข์อย่างถูกต้อง จนกระทั่งท่านหลุดพ้นจากทุกข์กลายเป็นบุคคลที่มีสุขโดยสมบูรณ์ทีเดียว
      เพราะฉะนั้น เรื่องทุกข์นี้จึงมีเคล็ดลับอยู่ในตัว คือว่า พระพุทธเจ้าตรัสให้เรารู้ทัน แล้วปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง เมื่อเราดำเนินชีวิตถูกต้อง คือปฏิบัติต่อทุกข์ถูกต้อง เราก็เป็นสุข และเราก็มีทุกข์น้อยลงทุกที จนทุกข์หมดไป จะเหลืออะไร ก็เหลือแต่สุข
..ฯลฯ..
.........................
(จากหนังสือ ความสุขที่สมบูรณ์ พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต))



..........................

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ฉันรู้ว่านายต้องมา..


  ...ปีนี้ก็คงจะเหมือนทุกปีที่ผ่านมาราวสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม เพื่อนๆจะรวมกันมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเพื่อนที่ล่วงลับไปแล้ว...จากการรวบรวมเบื้องต้นพวกเราจากไปแล้วรวม ๙๒ คน...เพื่อนๆจัดการทำป้ายรายชื่อใหม่แยกเป็นพรรค เหล่า..เปลี่ยนรูปถ่ายให้ใหม่..ในวาระที่ครบรอบ ๕๐ ปี นาวี ๐๙ ..ดูมีสีสันงดงามพอสมควร



    ...เพื่อนที่อยู่ที่สัตหีบถือว่าเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน...มาแล้ว "จุมโพ่"(สรรเสริญ ล.)จาก กร. เป็นแม่งานในการจัดภัตตราหารเพลถวายพระ 


  ...หลวงตา  กรุ่น ค. มาร่วมงานทำบุญให้เพื่อน เหมือนเช่นเคย



ตรวจสอบกันหน่อย..เพื่อนเรา ใครบ้าง ?!!  รออยู่ที่วัด....


  ...ปีนี้ สมนึก น.จัดระนาดเอก มาร่วมบรรเลงในงาน


  ...ทีม น้ำ ฟ้า ฝั่ง ขาประจำเหมือนเดิม  กองมี ข. ประธานชมรมทหารนอกราชการพื้นที่สัตหีบฯ พร้อมกับ เสรี อ.และคณะแม่บ้านฯ


ยังคงเหมือนเช่นเคย..พิมล อ.พร้อมของหวาน 
ต้อนรับเพื่อนๆ เมื่อเดินทางมาถึงวัด


Line...ตรวจสอบข่าวสารกันหน่อย..
..มี ID ของเพื่อนๆ หรือยัง !!!



๕๐ ปี นาวี ๐๙...นานเท่าไร? ที่เพื่อนไม่ได้พบกัน..!!


เล็กๆน้อยๆที่เพื่อนๆ นำมาฝากกัน....




ดีใจเน๊าะ...ได้พบกันอีกครั้ง...








..บางท่านแม้จะเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจาก ทร.ไปแล้ว..
ยังคงมาร่วมงาน...เรารุ่นเดียวกัน...





คุยกันแต่ใน Line ใน FB ..อัพเดทข้อมูลกันหน่อย...


ได้เวลาเริ่มพิธีการทางสงฆ์แล้ว.....
ปีนี้ท่านประธานที่ปรึกษาพิเศษ
พล.ร.ท.จำรัส เผือกประพันธ์
เป็นประธานในพิธี

















ร่วมกันถวายภัตตาหาร ถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์...




ท่านประธานในพิธี ร่วมทำบุญบำรุงวัด



...การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง..แจกหนังสือธรรมะ


ปีนี้เพื่อนๆและครอบครัวมาร่วมงานกันมากกว่าทุกๆปี..


(คลิกบนภาพเพื่อดูภาพขยายใหญ่ขึ้น)








พบกันใหม่ปีหน้านะเพื่อน....!!!!


******************