วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สัมมาสมาธิ...

....ฯลฯ....
...ระบบไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาอย่างองค์รวม ฯ...
    ในการกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะแสดงพฤติกรรมอะไร หรือมีกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม เราสามารถฝึกฝนพัฒนาตนและสำรวจตรวจสอบตนเองตามหลัก ไตรสิกขา นี้  ให้มีการศึกษาครบทั้ง ๓ อย่าง ทั้ง  ศีล  สมาธิ  และ  ปัญญา พร้อมกันไปทุกคราว คือเมื่อทำอะไรก็พิจารณาดูว่า
   พฤติกรรม หรือ การกระทำ ของเราครั้งนี้ จะเป็นการเบียดเบียนทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ใครหรือไม่ จะก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมเสียหายอะไร ๆ บ้างไหม หรือว่าเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล ช่วยเหลือ ส่งเสริม และสร้างสรรค์ ( ศีล )
     *ในเวลาที่จะทำนี้ จิตใจ ของเราเป็นอย่างไร เราทำด้วยจิตใจที่เห็นแก่ตัว มุ่งร้ายต่อใคร ทำด้วยความโลภ โกรธ หลง หรือไม่ หรือทำด้วยความเมตตา มีความปรารถนาดี ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยสติ มีความเพียร มีความรับผิดชอบเป็นต้น และในขณะที่ทำสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เร่าร้อน กระวนกระวาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือว่ามีจิตใจที่สงบ ร่าเริง เบิกบาน เป็นสุข เอิบอิ่ม ผ่องใส ( สมาธิ )
     เรื่องที่ทำครั้งนี้ เราทำด้วย ความรู้ความเข้าใจ ชัดเจนดีแล้วหรือไม่ เรามองเห็นเหตุผล รู้เข้าใจหลักเกณฑ์ความมุ่งหมาย มองเห็นผลดีผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และหนทางแก้ไขปรับปรุงพร้อมดีแล้วหรือไม่ ( ปัญญา )
      ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างนี้ คนที่ฉลาดจึงสามารถฝึกศึกษาพัฒนาตนและตรวจสอบวัดผลการพัฒนาตนได้เสมอตลอดทุกครั้งทุกเวลา...
....ฯลฯ.....
(หนังสือ พุทธธรรม(ฉบับเดิม) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต))

*****
หมายเหตุ  ส่วน มิจฉาสมาธิ แปลว่า ความตั้งใจผิด ได้แก่จดจ่อ ปักใจแน่วในกามราคะ เช่น จดจ่อความสุข, จดจ่อความสบายในสมาธิ,  ความจดจ่อในพยาบาท เป็นต้น (ข้อ . ใน มิจฉัตตะ ๑๐)  หรือตีความในแง่ของการปฏิบัติทางพุทธศาสนาได้ว่า มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่มิได้นำไปใช้เพื่อการสนับสนุนการเจริญวิปัสสนา  แต่เป็นการหลงผิดนำไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆทางโลกหรือโลกิยะ อันเป็นไปเพื่อความสุขสบาย เป็นไปทั้งโดยรู้ตัว และไม่รู้ตัวด้วยอวิชชาเป็นจำนวนมาก  (จาก  http://www.nkgen.com/367.htm  )

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สารจากประธานรุ่น ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙


ร.อ.สุรเดช กันเกตุ ประธานรุ่น 
(๒๕๕๘ - ๒๕๕๙)

*****

...สารจากประธานรุ่น....

นรจ.๐๙ ทอดผ้าป่าที่หนองคาย



******
(สำเน่า)
คำสั่งชมรม นรจ.๐๙
ที่  ๑/๒๕๕๘
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการ นรจ.รุ่น ๐๙
------------------------------------
      เพื่อให้การบริหารงานของชมรม นรจ.รุ่น ๐๙  เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามข้อบังคับชมรม นรจ.รุ่น ๐๙  พ.ศ.๒๕๕๕ จึงให้ผู้มีรายชื่อต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการและที่ปรึกษาชมรม นรจ.รุ่น ๐๙  โดยปฏิบัติหน้าที่จนครบกำหนดตามวาระ  ๒  ปี
     ๑.  ประธานกรรมการ
           ร.อ.สุรเดช  กันเกตุ
     ๒.  ประธานที่ปรึกษาพิเศษ
           พล.ร.ท.จำรัส  เผือกประพันธ์
     ๓.  ประธานที่ปรึกษา
           พล.ร.ต.วิติ  บัวศรี
     ๔.  รองประธานที่ปรึกษาและกรรมการที่ปรึกษา
           ๑. พ.จ.อ.ชลิต  เกิดชื่น
           ๒. น.อ.สมนึก  นาคสมบุญ
           ๓. น.อ.สมบัติ  น่วมนิ่ม
           ๔. น.ต.รัตนชัย  มุสิกะสิน
           ๕. น.อ.สำเริง  แทนวันดี
           ๖. น.อ.ศักดิ์สิทธิ์  บำรุง
           ๗. น.อ.เสรี  อินทวี
           ๘. น.อ.อุดม  มะลิมาตย์
           ๙. น.อ.ยงยุทธ  อิงสุข
           ๑๐. น.อ.โสภณ  อิ่มกมล
           ๑๑. น.อ.กองมี  ขุนแข็ง
           ๑๒. น.อ.ปราโมทย์  มงคล
           ๑๓. น.ท.บุญโชติ  ตั้งเจริญ
     ๕.  รองประธานกรรมการ
           ๑. น.ท.อนันต์  ชาตตระกูล      -กรุงเทพ
           ๒. น.อ.กองมี  ขุนแข็ง             -สัตหีบ
           ๓. น.อ.อาวุธ  โชติธรรม           -ภูมิภาค           
     ๖.  กรรมการและเลขานุการกลาง
           พ.จ.อ.วิเชียร  มามีเกตุ
     ๗.  กรรมการฝ่ายเลขานุการกรุงเทพ
           ๑. น.อ.อำนวย  รอดทอง
           ๒. น.อ.ทวีศักดิ์  สุภานันท์
           ๓. น.ต.วิจิตร  อิ่มใจ
           ๔. น.ต.ธนู  เพิ่มพูล
           ๕. จ.อ.ทัศนะ  ไววิริยะ
           ๖. น.อ.เสริมศักดิ์ ยลสิริธรรม
     ๘.  กรรมการฝ่ายเลขานุการภาคตะวันออก
           ๑. น.อ.เสรี  อินทวี
           ๒. น.ท.ศักดิ์  บุญเจิม
           ๓. น.ท.จำลอง  กาเผือก
           ๔. น.ท.มงคล  พรหมรุ่งเรือง
           ๕. น.อ.ประทีป  อินสุข
           ๖. น.ท.ณรงค์  จันทร์ดี
    ๙.  กรรมการฝ่ายเลขานุการภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           ๑. น.อ.สมบัติ  น่วมนิ่ม
           ๒. น.อ.สำราญ  กองศรี
           ๓. น.อ.ประดิษฐ์  ศรีเฉลิม
           ๔. พ.ต.ท.ชัยพจน์  ศรีม่วง
           ๕. น.ต.ฉลอง  เยาวะ
           ๖. จ.อ.สุรพงษ์  ไชยมงคล
     ๑๐.  กรรมการฝ่ายเหรัญญิกและสวัสดิการ
           ๑. น.อ.สำราญ  ศรีโมรา
           ๒. น.ท.บำเพ็ญ  บำเพ็ญผล
           ๓. น.อ.โสภณ  อิ่มกมล
           ๔. น.ท.ศักดิ์  บุญเจิม
           ๕. น.อ.สมนึก  นาคสมบุญ
     ๑๑. กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยี่สารสนเทศ
           ๑. น.อ.รังสิต  นาคน้ำ
           ๒. น.อ.อุดม  มะลิมาตย์
           ๓. จ.อ.สุรินทร์  ธีระนาวิน
           ๔. น.ท.มงคล  พรหมรุ่งเรือง
           ๕. น.ท.ทัยวัฒน์  พาทองคำ
           ๖. ร.ต.เดชา  เปรมมณี
           ๗. น.ต.พีระ  เหมือนแม้น
           ๘. ร.ท.สุรศักดิ์  ฮวบดี
           ๙. น.อ.ทวีศักดิ์  สุภานันท์
           ๑๐. น.อ.ประสพโชค  วุฒิสาร
           ๑๑. จ.อ.ทัศนะ  ไววิริยะ
           ๑๒. น.อ.ชูศิลป์  สืบปรุ
           ๑๓. น.ท.มานิจ  โพธิ์รัศมี           
           ๑๔. น.อ.สาธร  โค้วบ้วนอาน
           ๑๕. จ.อ.ประจวบ  แก้วกอง
           ๑๖. น.อ.คีรี  เกษมณี
     ๑๒. กรรมการฝ่ายปฏิคม ประสานงาน และต้อนรับ
           ๑. น.อ.โสภณ  อิ่มกมล
           ๒. น.อ.เสรี  อินทวี
           ๓. น.อ.สำเริง  แทนวันดี
           ๔. น.อ.ศักดิ์สิทธิ์  บำรุง
           ๕. น.อ.ประทีป  อินสุข
     ๑๓. กรรมการฝ่ายทะเบียนพลและข้อมูล
           ๑. น.ท.อนันต์  ชาตตระกูล
           ๒. น.อ.ทวีศักดิ์  สุภานันท์
           ๓. น.อ.สำราญ  ศรีโมรา
           ๔. น.ท.ศักดิ์  บุญเจิม
           ๕. น.ท.มงคล  พรหมรุ่งเรือง
           ๖. น.ท.ณรงค์  จันทร์ดี
           ๗. น.ท.เกษม  ศิริปิ่น
           ๘. น.ท.อุดม  คุ้มพงษ์    
      ๑๔. กรรมการฝ่ายศาสนาและพิธีกรรม
           ๑. น.อ.สำเริง  แทนวันดี
           ๒. น.อ.เสรี  อินทวี
           ๓. น.อ.บำเพ็ญ  บำเพ็ญผล
           ๔. น.อ.สมบัติ  น่วมนิ่ม
           ๕. น.ท.เกษม  ศิริปิ่น
           ๖. น.ท.จำลอง  กาเผือก
           ๗. น.ต.สรรเสริญ  ลายประดิษฐ์
           ๘. น.ต.ประเสริฐศักดิ์  สุวรรณโรจน์
           ๙. น.ต.วิจิตร  อิ่มใจ
           ๑๐. น.ต.ธนู  เพิ่มพูล
           ๑๑. น.ท.พิมล  เอี่ยมขำ
     ๑๕. กรรมการฝ่ายกิจการและจัดหาทุน
           ๑. พ.จ.อ.วิเชียร  รักจิตร์
           ๒. จ.อ.ระเบียบ  รอดรัตนาทูล
           ๓. จ.อ.สุรพงษ์  ไชยมงคล
           ๔. น.อ.สำราญ  กองศรี
           ๕. น.อ.ศักดิ์สิทธิ์  บำรุง
           ๖. น.อ.วสันต์  เบี้ยวน้อย
           ๗. จ.อ.พิชัย  พันธุ์ไชยศรี
           ๘. พ.ต.ต.ธวัช  ช้อยเพ็ง
           ๙. น.ต.วีระ  อุ่นสกุล
           ๑๐. จ.อ.ชัยธวัช  จันทร์ประสิทธิ์
           ๑๑. ร.อ.สมศักดิ์  ยศศรี
           ๑๒. พ.จ.อ.มนัส  ประสิทธิธัญการ
           ๑๓. จ.อ.วันชัย  จิตรเพ็ชร

     ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                          สั่ง ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘

                          (ลงชื่อ)  เรือเอก  สุรเดช  กันเกตุ
                                                     (สุรเดช  กันเกตุ)
                                                   ประธาน นรจ.รุ่น ๐๙

******

******
       

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อยากมี อยากเป็น...


....ฯลฯ....
.....ตัณหาทั้งหลาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเป็นเชือกเป็นปอ เป็นโซ่ มัดคอ มัดเท้า มัดมือ  มัดตีนไปมาไม่ได้ กิเลสตัณหามันมากมาย มันมัดไว้ผูกไว้ มัดวัดจมอยู่ในโลกในวัฏฏะสงสาร  อันนี้แหละ   ตัณหาในใจของคนเราไม่มีเวลาเหือดแห้งไป ถ้าไม่ภาวนาละกิเลส ไม่เอาจริงเอาจังแล้ว ตัณหามันไม่ยอมวาง...


....พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า นัตถิ ตัณหา สมา นที แม่น้ำ ลำคลองทั้งหลายนั้น ยังมีเวลาเต็ม แต่ตัณหาในใจมนุษย์คนเราและสัตว์โลกทั้งหลายนั้น ไม่มีเวลาเต็ม ฤดูฝนน้ำฝนเต็ม ตัณหาในจิตมันก็ยังไม่เต็มไม่พอ มีอย่างนี้แล้วอยากมีอย่างโน้น ได้อย่างนี้แล้วอยากได้อย่างอื่นต่อ ๆ ไป ไม่ว่ากามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานั้น มันไม่พอ มันไม่หยุดได้ เพราะว่าจิตไม่ภาวนาละกิเลส...
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ สุข สงบ เยือกเย็น ๑๐๔ ปีชาตกาล หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่)

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สังเวชนียสถาน


....ฯลฯ....
    " พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อก่อนนี้ออกพรรษาแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเดินทางมาจากทิศานุทิศเพื่อเฝ้าพระองค์ ฟังโอวาทจากพระองค์ บัดนี้ พระองค์จะปรินิพพานเสียแล้ว ภิกษุทั้งหลาย จะพึงไป ณ ที่ใด ? "  พระอานนท์ทูลถาม
    " อานนท์ ! สถานที่อันเป็นเหตุให้ระลึกถึงเราก็มีอยู่คือ สถานที่ที่เราประสูติ คือ ลุมพินีวันสถาน สถานที่ที่เราตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นครั้งแรก คือป่าอิสิปตนมิคทายะ แขวงเมืองพาราณสี  สถานที่ที่เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณ บรรลุความรู้อันประเสริฐ ทำกิเลสให้สิ้นไป คือโพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และสถานที่ที่เราจะปรินิพพาน ณ บัดนี้ คือป่าไม้สาละ ณ นครกุสินารา  อานนท์เอย ! สถานที่ทั้งสี่แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถาน สารานียสถานสำหรับให้ระลึกถึงเราและเดินตามรอยบาทแห่งเรา "
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
******

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มนุษย์เอย...


(ภาพจากอินเตอร์เนต)
....ฯลฯ....
      ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย  คุกตะรางที่ขังคนไม่ให้เป็นอิสระนั้น  ยังไม่ร้ายเท่าคุก คือ กิเลส ที่ได้ขังจิตใจของเราไว้ไม่ให้เป็นอิสระ นานแสนนานมาแล้ว...
      มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนเป็นนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตไปแล้วทั้งสิ้นเพียงแต่รอการลงอาญา ของพญามัจจุราชเท่านั้น
      ดังนั้น ในช่วงเวลาแห่งการรอคอยนี้แหละ  เราจะต้องหาทางพังทะลายคุกอันหนาแน่นนี้ ออกไปสู่ความเป็นอิสระให้จงได้
      สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดบขันธ์ปรินิพพาน  พระองค์ได้ทรงมอบ " ธรรมาวุธ " เพื่อพังทะลายคุกไว้ให้พวกเราแล้ว ธรรมาวุธอันวิเศษนั้นคือ สติปัฏฐาน ๔
*****
      เราตถาคตตั้งศาสนาไว้ มิได้ประสงค์ให้ผู้ใดผู้หนึ่ง
แสวงหาประโยชน์อย่างอื่น
ตั้งไว้ เพื่อให้บุคคลบำเพ็ญภาวนา
ระงับดับกิเลสตัณหาเท่านั้น
*****
....ฯลฯ....
(จาก หนังสือ ทางสายเอก (ฉบับสมบูรณ์) พระราชพรหมาจารย์(พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)
*****
....อัคคี  (คลิก)....
*****

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ธรรมที่ปิดบังพระไตรลักษณ์


     ธรรมที่ปิดบังพระไตรลักษณ์มีอยู่  ๓  ประการ คือ
    ๑. สันตติ (การติดต่อสืบเนื่อง) ปิดบังอนิจจัง เป็นธรรมที่บังรูปนามให้เห็นว่าเป็น นิจจัง
   ๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ ทุกอิริยาบถไม่ว่า นั่ง นอน ยืน เดิน ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะการเปลี่ยนอิริยาบถมาปิดบังไว้ จึงเรียกว่า "อิริยาบถ ปิดบังทุกข์"
   ๓. ฆนสัญญา (ความเป็นกลุ่มเป็นก้อน) ปิดบังอนัตตา ทำให้เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาทำให้เกิดอารมณ์น่ารักใคร่ น่าปรารถนา เมื่อแยกออกจากกันแล้วก็เป็นสิ่งปฏิกูลเปื่อยเน่า ผุพัง จึงเรียกว่า ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ดังนี้
....ฯลฯ....
พระไตรลักษณ์ คือ ลักษณะอันเสมอกัน ๓ ประการ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ตลอดจนกระทั่งตัวเราย่อมตกอยู่ใต้กฏของพระไตรลักษณ์ทั้งสิ้น คือ
       อนิจจัง   ความไม่เที่ยง
       ทุกขัง     ความทุกข์ทนได้ยาก
       อนัตตา   ความไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร
พระไตรลักษณ์อยู่ที่ใหน ?
       พระไตรลักษณ์อยู่ที่รูปนาม(กายจิต)นั่นเอง คลุกเคล้าอยู่กับรูปนามที่เรากำหนดอยู่ตลอดเวลา
รูปนามอยู่ที่ใหน ?  -  พระไตรลักษณ์ก็อยู่ที่นั่น....
       ....เปรียบเสมือนเห็นเสือก็เห็นลายเสือ ฉะนั้น....
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ ทางสายเอก(ฉบับสมบูรณ์) พระพรหมาจารย์(พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)
*****
กายของเรานี้..(คลิก)

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัจฉิมเวยไนย


....ฯลฯ....
    " ข้าแต่ท่านอานนท์ ! "
    " ข้าพเจ้าขออนุญาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจบางประการ ขอท่านได้โปรดอนุญาตเถิด  ข้าพเจ้าสุภัททะปริพาชก "
    " อย่าเลยสุภัททะ ท่านอย่ารบกวนพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระองค์ทรงลำบากพระวรกายมามากอยู่แล้ว พระองค์ประชวรหนักจะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน "
    " ท่านอานนท์ ! " " โอกาสของข้าพเจ้าเหลือเพียงเล็กน้อย ขอท่านอาศัยความเอ็นดูโปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าเฝ้าพระศาสดาเถิด " สุภัททะวิงวอน
*****
     " อานนท์ ! ให้สุภัททะเข้ามาหาตถาคตเถิด "
     " ถามเถิดสุภัททะ " พระศาสดาตรัส
     " พระองค์ผู้เจริญ คณาจารย์ทั้งหกคือ ปูรณะกัสสปะ  มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์หมดกิเลสหรือประการใด "
     " อย่าสนใจกับเรื่องนั้นเลย สุภัททะ เวลาของเราและของเธอเหลือน้อยเต็มทีแล้ว จงถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เธอเองเถิด "
*****
     " ข้าแต่ท่านสมณะ ! ถ้าอย่างนั้นข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาสามข้อ คือ รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่ สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่ สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่ ? "
     " สุภัททะ  ! รอยเท้าในอากาศนั้นไม่มี  ศาสนาใดไม่มีมรรคมีองค์แปด สมณะผู้สงบถึงที่สุดก็ไม่มีศาสนานั้น สังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย  สุภัททะ ปัญหาของเธอมีเท่านี้หรือ ?"
     " มีเท่านี้พระเจ้าข้า "
     " สุภัททะ ! ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟังโดยย่อ  ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ  ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ "
....ฯลฯ.....
(จากหนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๐)

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มานะ...


  ...มานะ เป็นกิเลสเด่นนำเนื่องกันและคู่กันกับตัณหา เป็นแรงขับดันให้ปุถุชนทำการต่าง ๆ ก่อความขัดแย้ง ปัญหาและทุกข์นานา แม้หากรู้จักใช้ จะปลุกเร้าให้เบนมาเพียรพยายามทำความดีได้ ก็แฝงปัญหาและไม่ปลอดทุกข์ จึงต้องมีการศึกษา เริ่มแต่ฝึกวินัยให้มีศีลที่จะควบคุมพฤติกรรมไว้ในขอบเขตแห่งความสงบเรียบร้อยไม่เบียดเบียนกันแล้วพัฒนาจิตปัญญา ให้เจริญฉันทะขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนแทนที่ตัณหาและมานะ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ถึงจะยังมีมานะอยู่อย่างละเอียดจนเป็นพระอนาคามี ก็จะแทบไม่มีโทษภัย  จนกว่าจะพ้นจากมานะเป็นอิสระสิ้นเชิง เมื่อบรรลุอรหัตถผล ซึ่งจะเป็นอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์สืบไป..
     *****
    มานะ  :  ความถือตัว,ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เป็น สังโยชน์เบื้องสูง พระอรหันต์ จึงจะละได้
    มานะ ๓  :  ๑. มานะ ว่า "เราเท่ากับเขา "  ๒. อติมานะ ว่า "เราดีกว่าเขา" ๓.โอมานะ ว่า " เราเลวกว่าเขา "
    อธิมานะ : ความสำคัญตนเกินความจริง ความสำคัญผิด เช่น ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบในระดับหนี่ง ซึ่งที่แท้ยังเป็นปุถุชนแต่สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์หรือพระอริยะ
    อัสมิมานะ : ความถือตัว โดยมีความยึดมั่นสำคัญหมายในขันธ์ ๕ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตน
    มิจฉามานะ : ความถือตัวผิดโดยหยิ่งผยองลำพองตนในความยึดถือหรือความสามารถในทางชั่วร้าย
    อวมานะ : การถือตัวกดเขาลง ซึ่งอาการลบหลู่ไม่ให้เกียรติ ทำให้อับอายขายหน้า ไม่แยแส ไร้อาทร เช่น ผู้มีกำลังอำนาจที่ทำการขู่ตะคอก ลูกที่เมินเฉยต่อพ่อแม่
   สัมมานะ : การนับถือยกย่อง ให้เกียรติแก่ผู้มีคุณความดีโดยเหมาะสมอย่างจริงใจ
(ในภาษาไทย มานะมีความหมายเพี้ยนไปเป็นว่า เพียรพยายาม ขยันมุ่งมั่น )
*****
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต)
*****
ทำให้ไม่มีตัวเราได้..วิเศษสุด (คลิก)

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เราเกิดมาเพื่ออะไร..


....ฯลฯ....
      เราไม่ได้เกิดมา
      เพื่อแสวงหาความสำเริงสำราญ
      ให้กับชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น
            เราไม่ได้เกิดมา
            เพื่อลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในรสอร่อยของโลก
            คือ กิน กาม เกียรติ์
      เราไม่ได้เกิดมา
      เพื่อเป็นทาสของชีวิต
            เราไม่ได้เกิดมาเพียงเพื่อ
      ศึกษาเล่าเรียน    ทำงานทำการ
      ตั้งหลักปักฐาน    มีครอบมีครัว
            มีลูกมีหลาน
แล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตายไป
ถ้าเราเกิดมาเพียงแค่นั้น ก็เท่ากับว่า
เกิดมาเพื่อเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารเท่านั้น
เป็นเหยื่อหนอนไปชาติหนึ่ง ๆ ไม่พ้นโลกนี้ไปได้
แม้จะมั่งมีเงินทองสักปานใดก็ไร้ความหมาย
******
แต่เราเกิดมา
เพื่อจะปลดเปลื้องพันธนาการโซ่ตรวน เครื่องร้อยรัด
ที่ผูกมัดจิตใจของเราไว้ ไปสู่ความเป็นอิสระ
เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจาก
อำนาจความครอบงำของกิเลส ตัณหา
เพื่อพัฒนาชีวิตและจิตวิญญาณให้สูงขึ้น
เจริญขึ้นสู่ฐานะอันสูงสุดเท่าที่จะขึ้นถึงได้
นั่นคือ การทำให้จิตบริสุทธิ์
ข้ามแดนแห่งความมืดมนของชีวิต
เพื่อเข้าถึงจุดจบของชีวิต
ที่สุดแห่งทุกข์ พระนิพพาน
......

พระพุทธวจนะ
นิพานมีอยู่
ทางไปนิพพานก็มีอยู่
เราผู้ชี้ทางไปนิพพานก็มีอยู่
ถ้าเธอไม่เดิน
แล้วเธอจะนิพพานได้อย่างไร
ธรรมชาติใดที่ทำจิตให้สงบระงับจาก นิวรณ์
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถกรรมฐาน
ธรรมชาติใดที่ทำให้เกิด ความรู้แจ้งเห็นจริง
ในสภาวธรรมคือรูป นาม ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิปัสสนากรรมฐาน
.......
นิพพาน
ดูกรอานนท์ จะถือเอาความรู้และความไม่รู้
เป็นประมาณทีเดียวไม่ได้
ต้องถือเอาการละกิเลสได้เป็นประมาณ
เพราะว่า ผู้ที่จะถึงพระนิพพาน
ต้องอาศัยการละกิเลสโดยส่วนเดียว
เมื่อละกิเลสได้แล้ว ก็ย่อมถึงพระนิพพานได้
.....ฯลฯ.....

(จากหนังสือ ทางสายเอก (ฉบับสมบูรณ์) พระราชพรหมาจารย์(พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)
   
******

******

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ธาตุ


....ฯลฯ....
    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้ ....
        เหมือนกับว่าจะพึงเห็นสรีระ(ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
        คือเป็น(ท่อน) กระดูก  มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์
        เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้
        ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจาณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ภายนอกบ้าง
        ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
        ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง
        ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
        ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น
        แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้
        แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
        เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย
        ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้ ....
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ บทสวดมนต์แปล มหาสติปัฏฐานสูตร (ฉบับปรับปรุง))
******

***********

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เหตุ..ปัจจัย..

....ฯลฯ....
ปัญญานำมา  มองตามเหตุปัจจัย  ตัวเองก็สบาย แถมยังช่วยคนอื่น
    ....ชาวพุทธจะต้องตั้งหลักไว้ในใจตั้งแต่ต้นว่า  เวลามองสิ่งต่าง ๆ จะไม่มองด้วยความชอบใจหรือไม่ชอบใจ แต่มองด้วยปัญญาที่ว่า มองตามเหตุปัจจัย ตั้งหลักอย่างนี้ไว้ในใจอย่างนี้ตั้งแต่ต้น คนที่ไม่ได้ฝึกไม่ได้พัฒนาไม่ได้เรียนรู้พุทธศาสนา ก็จะตั้งท่าผิด  เริ่มตั้งแต่มองสิ่งทั้งหลาย ก็มองด้วยท่าทีของความรู้สึกที่ว่าอยากอย่างนั้น อยากอย่างนี้ ชอบใจไม่ชอบใจ พอรับรู้ประสบการณ์อะไรก็เอาความชอบใจไม่ชอบใจเข้าไปจับ หรือมีปฏิกิริยาชอบใจหรือไม่ชอบใจไปตามความรู้สึก
         สำหรับชาวพุทธจะไม่เอาความชอบใจไม่ชอบใจหรือความชอบชังหรือตัณหามาเป็นตัวตัดสิน เป็นตัวนำวิถีชีวิต หรือเป็นตัวบงการพฤติกรรม แต่เอาปัญญามานำ การที่จะเอาปัญญามานำนั้น  ถ้าเรายังไม่มีปัญญาพอหรือยังหรือยังไม่ชำนาญก็ตั้งหลักไว้ในใจก่อน คือตั้งหลักที่จะเป็นจุดเริ่มต้นให้แก่ปัญญา วิธีตั้งหลักในเมื่อยังไม่มีปัญญาพอก็คือ ทำเป็นคติไว้ในใจ เวลาเกิดอะไร เจออะไรบอกใจว่ามองตามเหตุปัจจัยนะ  พอทำอย่างนี้  ปัญหาหมดไปตั้งครึ่งตั้งค่อนเลย เช่น  คนมีทุกข์หรือคนจะโกรธ พอบอกว่ามองตามเหตุปัจจัยเท่านั้นแหละ  ความทุกข์หรือความโกรธก็สะดุดชงักหรือลดลงไปเลย....
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ วินัยชาวพุทธและชีวิตที่สมบูรณ์ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)) 



วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ล่อให้หลง


....ฯลฯ....
     ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บ ความไข้เป็นทุกข์  ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์  ความเกิดเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้มันแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่สุขแท้ มันเป็นสุขเจือปนด้วยอามิส คือไม่ใช่สุขอย่าพระนิพพาน  เป็นสุขเจือปนด้วยอามิส เครื่องล่อใจให้หลงอยู่ แล้วมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายก็ติดอยู่ข้องอยู่คือความสำคัญผิดคิดว่าเป็นความสุข
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ สุข สงบ เยือกเย็น ๑๐๔ ปีชาตกาล หลวงปู่สิม พุทฺธจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงราย)

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กายของเรานี้...

....ฯลฯ...
    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของคนผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลายร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่าอันเขาทิ้งเสียแล้วโดยไม่ใยดี "
...............
    " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของโสโครกสกปรก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูกเป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและคูถ อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง "
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
*****



******

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทางรู้ ทางหลง


....ฯลฯ....
       จิตใจดวงผู้รู้ จริง ๆ มันอยู่ภายใน  ให้เราสงบจิต สงบใจ รวมจิตใจเข้าไปภายในเถิด จึงจะรู้ได้เข้าใจ ถ้าไม่รวมไม่สงบเข้าไปภายในนี้ ไม่มีทางที่จะรู้ ทางหลงทั้งนั้น ทางภายนอกท่านว่าทางหลง ทางเมา ทางไม่รู้ คือว่ามัวเมาแต่เรื่องภายนอก จิตใจดวงผู้รู้ของตัวเองมีอยู่ภายในก็ไม่ดู ไม่พิจารณา ไม่รวม ไม่ทำใจให้สงบระงับ ท่านให้ตั้งใจลงไปว่าสิ่งอื่นใดนอกจากจิตดวงผู้รู้ ผู้ฟังธรรมได้ยินอยู่นี้ออกไปทั้งหมด  อนิจจังไม่เที่ยง ไม่ต้องไปทุกขัง เป็นทุกข์เปล่า อนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา ให้รวมให้สงบเข้ามาตั้งมั่นอยู่ในดวงจิตดวงใจผู้รู้ผู้เห็น มีอยู่ในหัวใจของตนเดี๋ยวนี้ขณะนี้
........
(จากหนังสือ สุข สงบ เยือกเย็น ๑๐๔ ปีชาตกาล หลวงปู่สิม พุทฺธจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่)

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความตาย...


....ฯลฯ...
     ให้เราเข้าใจว่าตัวเราทุกวันนี้  เรานอนหลับอยู่ก็คือว่านอนหลับรอท่าความตาย จงกำหนดให้ดีเรียกว่า  มรณัง เม ภวิสสติ  มรณะ ความตาย เรามักจะคิดว่าเรานอนสบาย เอาความสุขสบาย แท้ที่จริงนอนรอความตาย  แล้วเวลาตายมันก็เหมือนเรานอนนั่นแหละ  แต่ว่าจิตมันยังไม่ออกจากร่าง ความตายนั้นเรียกว่า จิตมันออกจากร่างแล้ว
     จิตใจคนเรานั้น เมื่อมันออกจากสารีระร่างกายอันนี้แล้ว ไม่มีใครรู้เห็นไปได้ทุกทิศทุกทาง จงนึกเตือนจิตเตือนใจดวงนี้ เมื่อยังไม่ถึงเวลาตายว่า  มรณัง เม ภวิสสติ เราต้องตาย คนทั้งหลายต้องตาย สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ ตายด้วยกันทั้งนั้น
      ความตายนี้ไม่มีใครหลบหลีก แต่ว่าผู้จะมานึกมาเจริญพิจารณาให้เห็นแจ้งซึ่งความความตายนี้ ไม่ค่อยจะมี บางคนถ้ามีสติปัญญาน้อย ก็มักจะไปกลัวความตาย เพียงจะเอามานึกมาพิจารณาเป็นกรรมฐานสอนว่าเราจะต้องตาย  ก็นึกไม่ได้  ถ้านึกเจริญก็กลัวมันตายเร็วเข้า เพราะตัวเองยังไม่อยากตาย เป็นอย่างนี้ก็มี  แต่ว่าให้เราทุกคน นึกให้ได้ เจริญให้ได้ว่า ความตายนี้หนีไม่พ้น จะหลบหลีกท่าใหนก็ไม่พ้น หลบไปเถิด หลีกไปเถิด พ้นเวลาเด็ก เวลาหนุ่มตายก็มี พ้นเวลาหนุ่มแข็งแรง ปานกลางคนตายก็มี เลยปานกลางไป เลยอายุ ๔๐ ปี ๕๐ ปีไปก็ตายได้ทั้งนั้น ๖๐ ปีก็ตาย ๗๐ ปีก็ตาย ๘๐ ปีก็ตาย ๙๐ ปีก็ตาย ๙๙ ปีก็ตาย  ๑๐๐ ปีก็ตาย เลย ๑๐๐ ปีไปสักกี่ปีก็ตาย..
....ฯลฯ.....
(พระธรรมเทศนา พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่)

(ภาพ การลอยอังคาร ที่ อ่าวดงตาล สัตหีบ ชลบุรี)

*****


วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สุดท้ายแห่งทุกข์...


....ฯลฯ....
....ความตายเป็นบั้นสุดท้ายแห่งกองทุกข์ แล้วสิ่งที่จะมาปรากฏคือ ความตายนั้น มันก็ไม่ได้อยู่ไกล มันอยู่ในใจตัวเรานี้เท่านั้น คำว่า " ตาย " คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ที่มันประชุมเป็นตัวตนเรานี้ เมื่อมันหมดเหตุ หมดปัจจัยลงไป มันก็หยุด มันหยุดมันก็ตาย  "ตาย" ดินมันตาย น้ำ ไฟ ลม มันตาย ช่างมันเถิด
     ใจเราภาวนา พุทโธ พุทโธ อยู่ในดวงจิตดวงใจ นี้ไม่ตาย จิตมันไม่ตาย จิตมันไม่ใช่รูป จิตนี้เป็นนามธรรม ไม่มีอะไรที่จะมาทำลายได้ เราเอาไฟเผาจิต ก็ไม่ได้เรื่อง มันไม่มีตัว เผาก็ไม่ไหม้ จะคิดทำลายอย่างไร มันทำลายไม่ได้เพราะว่าจิตเป็นธาตุนามธรรม เหมือนกับลม เหมือนกับอากาศ ว่างเปล่าอย่างนั้นแหละ ใครจะไปทำให้อากาศ ลม มันเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมไม่ได้
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ สุข สงบ เยือกเย็น  ๑๐๔ ปีชาตกาล หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่)

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฏของความจริง


....ฯลฯ....
.....อริยสัจ หมายถึง  ความจริงที่มันทรงอยู่  
     เอาจิตของเรายอมรับนับถือ"กฏของความเป็นจริง" แสดงว่าไม่ทำจิตให้ดิ้นรนฝืนความเป็นจริง
     อะไรมันจริงบ้าง การเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความหิวกระหายเป็นทุกข์ การปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์  การประกอบกิจการงานเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากเป็นทุกข์ และความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์
     ที่คำว่า"ทุกข์"มีอยู่ก็เพราะว่าเราไม่ยอมรับนับถือ"กฏของความจริง" เพราะ ความจริงไม่น่าจะมีอะไรเป็นทุกข์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของธรรมดา
      เมื่อการเกิดมีขึ้น ความแก่ก็ตามมา  ความป่วยไข้ไม่สบายก็ตามมา ความหิว ความกระหาย ความหนาว ความร้อน การปวดอุจจาระปัสสาวะ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตลอดจนความตายมันก็ตามมา เพราะความเกิดเป็นต้น
       นี่เพราะอาศัยการเกิดมันจึงมีความทุกข์ คือ ของมันเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ ถึงแม้ว่าเราจะทำใจเป็นทุกข์  มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ทั้งนี้เพราะอะไร  เพราะเราฝืนมันไม่ได้....
...........
       ถ้าจิตเรายอมรับนับถือความเป็นจริงอย่างนี้ 
       ...เราจะมีอะไรเป็นทุกข์...??
...ฯลฯ...
(จากหนังสือ มรณานุสสติ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
*****

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โกรธ...

...ฯลฯ...
....ลักษณะของความโกรธ...
    ทีนี้จะพูดถึงลักษณะของความโกรธ พอเป็นเครื่องกำหนดจดจำ
    โกรธในอัตราน้อย ๆ เราจะเรียกว่าขัดใจ เช่น หงุดหงิด กระทบกระทั่งแห่งจิต นี่มันเป็นความโกรธในอันดับน้อย อันดับต่ำ ที่เรียกในบาลีว่า ปฏิฆะ
     ทีนี้อันดับสองขึ้นมาก็คือ โกรธ โกรธเต็มความหมาย นี่บันดาลโทสะ งุ่นง่าน ถ้าจะเรียกตามบาลีก็เรียกว่า โกธะ
     ทีนี้อันดับต่อไปอีก มันก็คือ ผูกโกรธ ผูกโกรธไว้ ความอาฆาต พยาบาทจองเวร อย่างนี้เรียกว่า อุปนาหะ  อุปนาหะคือ ผู้โกรธไว้ หรือ เวระ..จองเวร
     ทั้งสามอย่างนี้คือความโกรธ ในลักษณะที่มันต่าง ๆ กัน โกรธไม่สู้มาก และโกรธสมบูรณ์ จนกระทั่งโกรธโดยผูกไว้ รักษาไว้
      คำว่า ปฏิฆะ  หมายถึง หงุดหงิดขัดใจ
      คำว่า โกธะ    นี่โกรธโดยสมบูรณ์
      คำว่า โทสะ  มันแปลว่า ประทุษร้าย เมื่อโกรธแล้วก็ไปประทุษร้ายอีกที เดี๋ยวนี้เราจะเอาแต่ความโกรธ ไม่ประทุษร้ายผู้อื่น  อุปนาหะ ก็ผูกอาฆาตไว้
      ทีนี้ดูในชีวิตประจำวัน ยิ่งอยู่ที่บ้าน ที่ออฟฟิศ ที่ทำงานเนื่องกันหลายคน มักจะมีสิ่งเหล่านี้ หงุดหงิด กระทบกระทั่งเป็น ปฏิฆะ นี่จะมีมากที่สุด ถ้าเป็นผู้ไม่ได้อบรมในทางธรรมะหรือศาสนามาก่อน ถ้ามีการศึกษาอย่างเลว ๆ แห่งสมัยปัจจุบันนี้ ทั้งโลกมันไม่มีระบบไหนที่สอนให้กำจัดความโกรธ ระวังความโกรธ  ในการศึกษาของพวกลูกเด็ก ๆ สมัยก่อนก็ยังค่อยยังชั่ว ทีนี้โกรธเต็มที่คงจะมีได้นาน ๆ ครั้ง ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็ฆ่ากันตายหมด ทีนี้ผูกโกรธไว้นี้ก็ไม่ใช่เล็กน้อย มันก็มีอย่างที่เรียกว่า สุมเผาตัวเอง คนอื่นหรือคู่เวรกันไม่รู้สึกอะไรก็ได้ แต่ผู้ที่อาฆาตหรือจองเวรนี้มันเหมือนกับทำลายตัวเองอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น ไปสอบดู...ของใคร ใครก็ไปสอบดูว่าเรามีโรคโกรธนี่กี่มากน้อย และอย่างไรบ้าง ? นี้คือสิ่งที่เรียกว่า ความโกรธ โดยเค้าก็มีอยู่ ๓ ระดับอย่างนี้..
....ฯลฯ....
(จากหนังสือ การเก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง  พระธรรมเทศนา โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ))

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ชีวิตนี้น้อยนัก..(จบ)


*****
....ฯลฯ....
       ..จิตดวงเดียวที่พรั่งพร้อมด้วยบุญกุศลจักท่องเที่ยวเบิกบานไปนานนักหนา นับกาลเวลาหาได้ไม่ นับภพชาติหาถูกไม่ในสุคติ จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป อันเป็นจุดสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงนำไปแล้ว และทรงแสดงแจ้งทางไว้ให้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยพระมหากรุณาหาที่เปรียบมิได้ พุทธสาวกทั้งหลายได้ตามเสด็จไปถึงจุดหมายอันเป็นบรมสุขนั้นแล้วมาก มีทั้งในสมัยพุทธกาลและปัจจุบันนี้ ทั้งยังจะสืบต่อไปในอนาคต กาลนานไกลตราบที่ยังมีผู้ใส่ใจปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อยู่
        ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นทางแยก จะไปสูงไปต่ำ จะไปดีไปร้ายเลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น พึงสำนึกข้อนี้ให้จงดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด
        ชีวิตนี้จักสวัสดี และชีวิตข้างหน้าจักสวัสดีได้ ถ้ามือแห่งกรรมร้ายไม่เอื้อมมาถึงเสียก่อน
        มือแห่งกรรมร้ายใด ๆ ก็จะเอื้อมมาถึงไม่ได้ ถ้าชีวิตนี้วิ่งหนีได้เร็วกว่า และการจะวิ่งหนีให้เร็วกว่ามือแห่งกรรมนั้น จะต้องอาศัยกำลังบุญกุศลคุณงามความดีเป็นอันมากและสม่ำเสมอ
       กำลังความสามารถในการวิ่งหนีมือแห่งกรรมชั่วกรรมร้าย คือการทำดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ ทุกเวลา
       ผู้จะมีสติระวังไม่ทำความไม่ดีทั้งกายวาจาใจได้ยิ่งกว่าผู้อื่น คือ ผู้มีกตัญญูกตเวทีอันเป็นธรรมสำคัญ ธรรมที่จะทำคนให้เป็นคนดี มีความห่วงใยปรารถนา จะระวังรักษาผู้มีพระคุณไม่ต้องเสียชื่อเสียงและไม่เสียทั้งน้ำใจ
      ผู้มีกตัญญูกตเวทีจึงเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองให้สวัสดี คุ้มครองไม่ให้ทำความไม่ดี คุ้มครองให้ทำแต่ความดี ทั้งกายวาจาใจทุกเวลา
      ชีวิตนี้น้อยน้ก พึงใช้ชีวิตนี้อย่างผู้มีปัญญาให้เป็นทางไปสู่ชีวิตหน้า ที่ยืนนาน ให้เป็นสุคติที่ไม่มีกาลเวลา หาขอบเขตมิได้ โดยยึดหลักสำคัญคือความกตัญญูกตเวที ต่อมารดาบิดา และต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงทุกลมหายใจเข้าออกเถิด..
      (จากหนังสือ ชีวิตนี้น้อยนัก  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
******