วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนิจจัง....


....ฯลฯ...
...พระศาสดา..." อานนท์ ! อย่าคร่ำครวญนักเลยเราเคยบอกไว้แล้วมิใช่หรือว่า บุคคลย่อมพลัดพลากจากสิ่งที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ในโลกนี้หรือโลกไหน ๆ ก็ตาม ไม่มีอะไรยั่งยืนถาวรเลย สิ่งทั้งหลายมีการเกิดย่อมมีการดับเป็นธรรมดา เป็นที่สุดไม่มีอะไรยับยั้งต้านทาน "
....ฯลฯ...
   ...." ไม่ว่าพาลหรือบัณฑิต ไม่ว่า กษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล ในที่สุดก็ต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตายเหมือนภาชนะ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ในที่สุดก็ต้องแตกสลายเหมือนกันหมด"...
...ฯลฯ...
******
(จากหนังสือพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน  ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)
******

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

นรจ. ๐๙ เรารุ่นเดียวกัน


.... ๔๙ ปี นาวี ๐๙....
     วันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่พวกเรา นรจ.๐๙ ทุกพรรค เหล่า มีนัดที่จะมาพบกันทุกปี..ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๘ เราคงมีกิจกรรมเหมือนเช่นเดิมคือช่วงกลางวันร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเพื่อน ๆ ที่ล่วงลับไปแล้วจำนวน ๘๗ นาย (คลิก) ที่วัดทุ่งโปรง สัตหีบ ชลบุรี ปีนี้พวกเราร่วมกันจัดซื้อเก้าอี้ถวายวัดจำนวน ๑๕๐ ตัว หลังจากจัดถวายไปเมื่อสองปีที่แล้ว(คลิก)...
     การจัดเลี้ยงสังสรรคงเป็นภาคค่ำ จัดงานที่อาคารอเนกประสงค์ นย.อ่าวเตยงาม เริ่มงานตั้งแต่ ๑๗๐๐ จนถึงเวลาประมาณ ๒๒๐๐ ปีนี้คุณครู ยงยุทธ นพคุณ(นายตอน ๗ - พล.ร.อ) คุณครูเฉลิมศักดิ์ สุขประเสริฐ(นายตอน ๖ - พล.ร.ท.)และคุณครู ประสาร แก้วศรีสุข(นายตอน ๓) ได้ให้เกียรติมาร่วมงานด้วย...
       เนื่องจากท่านประธานรุ่น พล.ร.ต.วิติ บัวศรี หมดวาระ จึงมีการเลือกตั้งประธานรุ่นคนใหม่ซึ่งได้แก่ ร.อ.สุเดช กันเกตุ ซึ่งจะอยู่ในวาระ  ๒ ปี ต้องขอแสดงความยินดีกับประธานคนใหม่ไว้ ณ ที่นี้ด้วย..ครับ..

....ในตอนเช้าที่วัดทุ่งโปรง คุณครูประสาน แก้วศรีสุข ให้เกียรติเป็นประธานในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ นรจ.๐๙ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว


พล.ร.ต.วิติ บัวศรี ประธานรุ่นถวายเก้าอี้

.......

******


นรจ.๐๙ (นรจ.นย.รุ่น ๑๑) ร่วมบริจาคเงินทำบุญ
จัดซื้อโต๊ะและเก้าอี้ถวายวัดทุ่งโปรง


ภาคค่ำจัดงานเลี้ยงสังสรรที่ห้องหาดเล็ก 
อาคารอเนกประะสงค์ นย.
อ่าวเตยงาม สัตหีบ

คุณครู ยงยุทธ นพคุณ(พล.ร.อ.)
 ครูเฉลิมศักดิ์ สุขประเสริฐ(พล.ร.ท.)
คุณครู ประสาร แก้วศรีสุข

พล.ร.ท.จำรัส เผือกประพันธ์ แสดงความยินดี
กับประธานรุ่นคนใหม่
พร้อมมอบเงินให้กับรุ่น ๑๐,๐๐๐.- บาท


ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก...


......


อดีตประธานรุ่น ชลิต เกิดชื่น มอบรางวัลจับฉลาก
ให้เพื่อนที่มาร่วมงาน


...เพื่อน ๆ ได้ร่วมสังสรร สนุกสนาน จนถึงเวลาประมาณ  ๒๒๐๐ ...แล้วเราจะกลับมาพบกันใหม่ปีหน้าครับ..






ขอบคุณเพื่อน ๆ นรจ.๐๙ และทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ.....
......




*********



*****
เก้าอี้ของเพื่อน   ปี  55   (คลิก)

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

ชีวิตคืออะไร ?


...ฯลฯ...
ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต...ขันธ์ ๕
.......
    พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มาประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อย ๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า "รถ" แต่แยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันจำเพาะอยู่แล้ว คือตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น
    แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่าง ๆ นั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อย ๆ ต่อ ๆ ไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในสภาวะของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มาประชุมเข้าด้วยกัน
   เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะเรื่องจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ
    ....ฯลฯ.....
    โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด ที่บัญญัติเรียกว่า " สัตว์ " " บุคคล " ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ 
....ฯลฯ....(อ่านทั้งหมดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ ครับ...)
******

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

วัฏสงสาร


*****
....มหาสมุทรเป็นบ่อเกิดของรัตนะอันทรงค่ามากมาย แม้นำมาแจกจ่ายแก่มวลชนก็ไม่อาจหมดสิ้นไปได้ พระพุทธศาสนาก้เช่นกันเป็นบ่อเกิดของหลักธรรมอันทรงคุณค่าจำนวนมหาศาล แม้ว่าจะนำมาอธิบายแจกแจงหลายร้อยครั้งก็ไม่อาจจะกล่าวให้หมดสิ้นได้ ในหลักธรรมเหล่านั้นมีธรรมที่สำคัญอยู่ประการหนึ่งชื่อว่า " ปฏิจจสมุปบาท " กล่าวถึงความสำคัญของเหตุผลที่ทำให้วัฏสงสารดำเนินไปเหมือนกงล้อที่หมุนวนอยู่เสมอ ผู้ที่เข้าใจในเรื่องนี้ดีย่อมจะตัดวงจรแห่งภพชาติได้ ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจจะต้องเวียนตายเวียนเกิดภพแล้วภพเล่าอย่างไม่รู้จบ
    พระพุทธองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จึงทรงอธิบายเรื่องนี้ไว้หลายแง่มุมในพระสูตรหลายร้อยสูตร ในลักษณะที่กองทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีอวิชชา และกองทุกข์ดับไปเพราะอวิชชาดับ เป็นต้น.....
....ฯลฯ.....
*****
(จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทเหตุแห่งวัฏสงสาร พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง)
*****

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

..กาม...

********

..กาม หมายถึง ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ 
  กามมี ๒ คือ 
  ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่
  ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕  คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฎฐัพพะ(สัมผัสทางกาย)ที่น่าใคร่พอใจ
..กามฉันทะ หมายถึง ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ พอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)
..กามตัณหา ความทยานอยากในกาม ,ความอยากได้กาม(ข้อ ๑ ในตัณหา ๓)
..กามภพ  ที่เกิดของผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในกาม,โลกของผู้เสพกาม ได้แก่อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น(ข้อ ๑ ในภพ ๓)
..กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม ความใคร่กาม(ข้อ๔ ในสังโยชน์๑๐,ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม,ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)
..กามสังวร ความสำรวมในกาม การรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกหมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส(ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)
..กามสุข สุขในทางกาม สุขที่เกิดจากกามารมณ์
..กามารมณ์ ๑.อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนาได้แก่ ได้แก่กามคุณ ๕
  ๒.ในภาษาไทยมักหมายถึงความรู้สึกทางกาม
..กามาวจร ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทุกสิ่งทุกอย่างประดามีที่เป็นไปในกามภพ ตั้งแต่อเวจีมหานรกถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
..กามาสวะ อาสวะคือกาม,กิเลสที่ดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่
..กามุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในกามยึดว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหนลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด
...ฯลฯ..
*******
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต)
********


*******


วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัทธรรม


สัทธรรม    ธรรมที่ดี , ธรรมที่แท้ , ธรรมของคนดี , ธรรมของสัตบุรุษ
    สัทธรรม ๓ คือ 
    ๑. ปริยัติสัทธรรม  สัทธรรม คือ สิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ (พระดำรัสของพระพุุทธเจ้า)
   ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรม คือ สิ่งที่พึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
   ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรม คือ ผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
    สัทธรรม ๗ คือ
   ๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล
   ๒. หิริ  คือ ความละอายต่อความชั่ว
   ๓. โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวความชั่วเหมือนกลัวอสรพิษ
   ๔. พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คงแก่เรียน
   ๕. วิริยารัมภะ คือ การลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว  
   ๖. สติ คือ การควบคุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง
   ๗. ปัญญา คือ ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล
........
สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม สัทธรรมเทียม
******
(จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ ประมวลศัพท์  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

******
เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย (คลิก)

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

เต่ากับปลา


ตัวอย่างเปรียบเทียบ
     มรรคผลนิพพาน เป็นสิ่งปัจจัตตัง คือ รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้ ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง แจ่มแจ้งเอง หมดสงสัยในพระศาสนาโดยสิ้นเชิง มิฉะนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่ร่ำไป แม้จะมีผู้สามารถอธิบายให้ลึกซึ้งอย่างไร ก็รู้ได้แบบเดา สิ่งใดยังเดาอยู่ สิ่งนั้นไม่แน่นอน
     ยกตัวอย่างเช่น เต่ากับปลา เต่าอยู่ได้สองโลกคือ โลกบนบกกับโลกในน้ำ ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียวคือในน้ำขืนขึ้นมาบนบกก็ตายหมด
     วันหนึ่งเต่าลงไปในน้ำแล้วก็พรรณนาความสุขความสบายบนบกให้ปลาฟังว่า มีแต่ความสุขสบาย แสงสีสวยงาม ไม่ต้องลำบากเหมือนอยู่ในน้ำ
     ปลาฟังกันด้วยความสนใจ และอยากเห็นบก จึงถามเต่าว่า
     "บนบกนั้นลึกมากไหม?"
     "มันจะลึกอะไร ก็มันบก " เต่าตอบ
     " เอ บนบกมีคลื่นมากไหม ?"
     "มันจะคลื่นอะไรก็มันบก"
     "เอ บนบกมีเปือกตมมากไหม ? "
     "มันจะมีอะไรก็มันบก"
     ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในน้ำถามเต่า เต่าก็ปฏิเสธ
     " จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพาน ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา "
*******
(จากหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา ของ พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) รวบรวมบันทึกไว้โดย พระโพธินันทมุนี)

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผู้ใดทำเหตุ ย่อมได้รับผลตรงตามเหตุแน่นอน..


******
ผู้ใดทำเหตุ ย่อมได้รับผลตรงตามเหตุแน่นอน
    เมื่อมีเหตุย่อมมีผล เมื่อทำเหตุย่อมได้รับผล และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ ผู่ใดทำผู้นั้นจักเป็นผู้รับผลเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อใดกำลังมีความสุข ไม่ว่าผู้กำลังมีความสุขนั้น จะเป็นเราหรือเป็นเขา เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า เหตุดีที่ทำไว้แน่ กำลังให้ผล ผู้ทำเหตุดีนั้นกำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่  
    แม้ปุถุชนจะไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ว่า ทำเหตุดีหรือกรรมดีใดไว้ แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่า เหตุแห่งความสุขที่กำลังได้เสวยอยู่ เป็นเหตุดีแน่ เป็นกรรมดีแน่ ผลดีเกิดแต่เหตุดีเท่านั้น ผลดีไม่เกิดแต่เหตุไม่ดีเลย
    เมื่อใดมีกำลังมีความทุกข์ความเดือดร้อน ไม่ว่าผู้กำลังมีความทุกข์ความเดือดร้อนนั้น จะเป็นเราหรือเป็นเขา เมื่อนั้นพึงรู้ความจริงว่า เหตุไม่ดีที่ทำไว้แน่ กำลังให้ผล ผู้ทำเหตุไม่ดีนั้น กำลังเสวยผลแห่งเหตุนั้นอยู่
    แม้ปุถุชนจะไม่สามารถหยั่งรู้ให้เห็นแจ้งได้ว่า ทำเหตุไม่ดีหรือกรรมไม่ดีใดไว้ แต่ก็พึงรู้พึงมั่นใจว่า เหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนที่กำลังได้เสวยอยู่ เป็นเหตุไม่ดีแน่ เป็นกรรมไม่ดีแน่ ผลไม่ดีเกิดแต่เหตุไม่ดีเท่านั้น ผลไม่ดีไม่มีเกิดแต่เหตุดีได้เลย
    ทำดีต้องได้ดีเสมอ  ไม่มียกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น
     เมื่อใดคิดว่าเราทำดีไม่ได้ดี หรือเขาทำดีไม่ได้ดี ก็พึงรู้ว่า เมื่อนั้นกำลังหลงคิดผิดจากความจริง กำลังเข้าใจผิดจากความจริง ทำดีต้องได้ดีเสมอไม่มีข้อยกเว้นด้วยเหตุผลใดทั้งสิ้น
.......
(จาก พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก   ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา  )
........

*****

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

เหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดีย..

นาลันทา มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก    อินเดีย

*****
.......
     การศึกษาเรื่องนี้ยังได้หลักฐานไม่ชัดแจ้งสมบูรณ์  แต่เท่าที่ปราชญสันนิษฐานกันไว้ พอประมวลได้ดังนี้
      ๑.คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง
     พระสงฆ์แต่เดิมดำรงมั่นในศาสนปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรรักษาระเบียบวินัย มีความเสียสละ เที่ยวจาริกสั่งสอนประชาชน บำเพ็ญศาสนกิจเพื่อประโยชน์แก่พหูชน คนจึงเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา พระมหากษัตริย์ ขุนนาง เศรษฐี คหบดี พากันถวายความอุปถัมภ์บำรุง สร้างวัดวาอารามใหญ่โตถวาย ที่ถึงกลับกลายเป็นมหาวิทยาลัยก็มี พระสงฆ์มีความเป็นอยู่สุขสบาย ตั้งใจปฏิบัติและอบรมสั่งสอนประชาชน ไม่ละเลยทอดทิ้งหน้าที่อันถูกต้องต่อพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์พระศาสนาก็รุ่งเรือง
     แต่ต่อมาเพราะชีวิตที่ได้รับการบำรุงสุขสบายนั้นก็ติดและลุ่มหลงลืมหน้าที่ที่แท้จริงเป็นเหตุให้.......
  • - ติดถิ่นติดที่เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสะดวกสบายนึงถึงแต่เรื่องของตนเอง และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเองทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน
  • - วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรม และงานฉลองอันสนุกสนานต่าง ๆ จนความเข้าใจเรื่องบุญกุศลแคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว
  • - ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาทางปรัชญาประเภท อันตคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด คือแล่นไปถึงที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยงฯลฯ) จนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัท
  • - มีความประพฤติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตกสามัคคีเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้
  • - เห็นแก่ความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลินมัวเมาในเรื่องเหล่านั้น และทำให้ประชาชนจมดิ่งลง แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนเองได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวังพึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทำให้พระพุทธศาสนามีสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่น ๆ มากมาย เช่นที่แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนกับตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของตนเอง
     ๒. ....ฯลฯ......

*****
(จากหนังสือ พระพุทธศาสนาในอาเซีย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

*****


*********
สัทธรรม (คลิก)

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

โมหะ..หลง..!!


******
......ผู้มีโมหะมาก  หลงตนมาก
       จัดเป็นพวกมีกิเลสมาก  มีจิตเศร้าหมองมาก......
      ผู้มีโมหะมาก คือมีความหลงมาก มีความรู้สึกที่ไม่ถูก ไม่ชอบไม่ควรในตน ในคน ในอำนาจ ย่อมปฏิบัติผิดได้มาก ก่อทุกข์โทษภัยให้เกิดได้มาก ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งแก่ส่วนน้อยและส่วนใหญ่ รวมถึงแก่ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
       บุคคลผู้มีโมหะมาก หลงตนมาก จัดเป็นพวกมีกิเลสมาก จิตเศร้าหมองมาก จะเป็นผู้ขาดความอ่อนน้อม แม้แต่ต่อผู้ควรอย่างยิ่งที่จะได้รับความอ่อนน้อม
       บุคคลเหล่านี้เมื่อละโลกนี้ไปขณะที่ยังไม่ได้ละกิเลสคือโมหะให้น้อย จิตย่อมเศร้าหมอง ย่อมไปสู่ทุคติ
......ผลของกรรมที่เที่ยงแท้ หลังความตาย......
      ทุคติของผู้หลงตนจนไม่มีความอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง คือจะเกิดในตระกูลต่ำ
       ตรงกันข้ามกับผู้รู้จักความอ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อมจะไปสู่สุคติ คือเกิดในตระกูลสูง เป็นเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมที่เที่ยงแท้
       ผู้ใดทำกรรมไว้ จักได้รับผลของกรรมนั้น ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว ทำเช่นใดจักได้เช่นนั้น
       การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ควรได้รับความอ่อนน้อม เป็นกรรมไม่ดี การเกิดในตระกูลต่ำเป็นผลของกรรมไม่ดี เป็นผลที่ตรงตามเหตุแท้จริง
       ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำ ปกติย่อมไม่ได้รับความอ่อนน้อมจากคนทั้งหลาย  ส่วนผู้ที่เกิดในตระกูลสูง ย่อมได้รับความอ่อนน้อมที่ผู้เกิดในตระกูลสูงมีปกติได้รับ นั้นเป็นผลที่เกิดจากเหตุอันเป็นกรรมดี คือความอ่อนน้อม
*****
(จากหนังสือ พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก  ผู้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา )
******


วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำถามสำหรับชาวพุทธ..


....สำรวจตัวเองก่อนปฏิบัติธรรม...
      ***คำถามข้อที่ ๑ ว่า  ยุคนี้เขาเรียกว่าเป็นยุคข่าวสารข้อมูล ชาวพุทธมีคุณสมบัติอะไร ? ที่สำคัญมาก  สำหรับปัจจุบันนี้ ที่เรียกว่าเป็นยุคข่าวสารข้อมูล
      ขอให้นึกดูคนที่จะตอบได้ก็ต้องรู้ว่าชาวพุทธมีคุณสมบัติอะไร หรือจะให้แคบเข้ามาก็คือ อุบาสก - อุบาสิกา ขอย้ำอีกทีว่าคุณสมบัติข้อใหนของชาวพุทธที่สำคัญ สำหรับยุคปัจจุบันนี้ที่เรียกว่าเป็นยุคข่าวสารข้อมูล
    ***ต่อไปข้อที่ ๒ ถามว่า การนับถือโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง คือนับถือย่างไร ? อันนี้ถามเกี่ยวกับคติพระโพธิสัตว์ และถามต่อไปอีกว่า ระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ? ในการทำความดี
    ***ต่อไปข้อ ๓ ถามว่า พระอริยะกับผู้วิเศษ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร  กับข้อนี้ว่า   ใครจะรู้หรือตัดสินได้ว่า ผู้ใดเป็นพระอริยะ ตลอดจนกระทั่งเป็นพระอรหันต์
    ***อีกข้อหนึ่งคือ ข้อที่ ๔  ถามว่า ปาฏิหาริย์ มีกี่อย่าง ต่างกันอย่างไร ในพระพุทธศาสนา ท่านให้นับถือปาฏิหาริย์หรือเปล่า ?
.......
(จากหนังสือ คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวเองก่อนปฏิบัติธรรม)  พระธรรมปิฎก ป. อ.ปยุตโต )
*****

*****
ขอขอบคุณข้อมูลจาก