วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หมู่บ้านโปรตุเกส




..เที่ยวอยุธยากันต่อนะครับ..ไม่ไกลจาก วัดพุทไธสวรรย์ ไปทางทิศตะวันออก เราจะพบกับหมู่บ้านโปรตุเกส ครับ..

      หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก ทางใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๔  โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายอูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นฑูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา...ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างให้เห็นคือ โบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างในแผ่นดินไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๓....(ข้อมูลจากเอกสารท่องเที่ยวของ ททท.)


















...มองไปฝั่งตรงข้ามจะเห็นหมู่บ้านญี่ปุ่น..










(คลิกบนแผนที่เพื่อดูภาพขยายใหญ่ขึ้น)


....มาเที่ยวอยุธยา เมื่อไรละก็..อยู่เที่ยวกันนาน ๆ เที่ยวให้ทั่ว"ราชธานีเก่า" ของเรานะครับ...ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ....





วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัดพุทไธสวรรย์


       บันทึกนี้ยังอยู่แถวเกาะเมืองอยุธยาเช่นเคยครับ...วัดพุทไธสวรรย์ พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ปรากฎตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างขึ้นในบริเวณพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทรงพระกรุณาตรัสว่า. "ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหารและพระมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวง แล้วในนามชื่อ วัดพุทไธสวรรย์" ภายในวัดมีปรางค์ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาส ทิศเหนือและทิศใต้มีมณฑปสองหลัง มีพระอุโบสถ(พระตำหนักเวียงเหล็ก)อยู่ทางทิศตะวันตกของปรางค์ มีลักษณะเป็นมหาอุด...(ข้อมูลจากหนังสือคู่มือเดินทางท่องเที่ยวฯ ของ ททท.)


พระปรางค์และมณฑปซ้าย/ขวา




เจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุภายในพระปรางค์


พระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาท ข้างผนังภายในพระปรางค์


พระปลัดซ้าย/ขวาภายในมณฑปซ้าย/ขวา


รอบพระปรางค์มีระเบียงคตและพระพุทธรูปภายในระเบียงคต



วิหารหลวงทางตะวันออกด้านหลังติดกับระเบียงคต


วิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่ด้านข้างวิหารหลวง



ด้านหลังพระปรางค์มีพระอุโบสถ(ตำหนักเวียงเหล็ก)
พระอุโบสถลักษณะมหาอุด ไม่มีหน้าต่าง มีประตูด้านหน้า



ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา  
หลวงพ่อดำ  พระประธาน



รอบอุโบสถมีเสมาหินชนวนคู่


พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประมุขสงฆ์ฝ่ายคามวาสี


อนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


(คลิกบนภาพเพื่อดูภาพขยายใหญ่)

วัดพุทไธสวรรย์ อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาอยู่ไม่ไกลจากวัดไชยวัฒนาราม


อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ท่านสามารถนั่งเรือไปชมได้.....
...................................

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ

















วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วัดโคกพระยา



           บันทึกนี้ขอนำไปเที่ยววัดร้างอีกวัดหนึ่งอยู่ใกล้กับวัดหัสดาวาสและวัดหน้าพระเมรุ ที่เคยกล่าวถึงใน บันทึกอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน....วัดโคกพระยา ครับ..
          วัดโคกพระยา เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามพงศาวดารกล่าวว่า ใช้เป็นสถานที่สำเร็จโทษพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมศานุวงศ์ มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนต้น เช่น

      พระเจ้าทองลัน พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๔ แห่งราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.๑๙๓๑

       สมเด็จพระยอดฟ้า   พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ.๒๐๙๑  

       พระศรีเสาวภาคย์ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๔ แห่งราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ.๒๑๕๓  

      พระอาทิตย์วงศ์ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์สุโขทัย    

      สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ.๒๑๙๙    

      สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ.๒๑๙๙

      เจ้าพระขวัญ พระราชโอรสสมเด็จพระเพทราชา แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 




      




(คลิกบนแผนที่เพื่อดูภาพขยายใหญ่ขึ้น)

   ปัจจุบันวัดโคกพระยา เป็นวัดร้าง ยังคงเหลือซากปรักหักพังที่ได้รับการบูรณะแล้ว ล้อมรอบด้วยบ้านเรือน ไม่ค่อยน่ากลัวเหมือนกับเรื่องราวความเป็นมาในอดีต..
       หากท่านมีโอกาสไปอยุธยา ไปไหว้พระที่วัดหน้าพระเมรุ อย่าลืมแวะไปที่ว้ดโคกพระยานะครับ..


ไปดู(คนเชียร์)บอล...


...เพื่อความเพลิดเพลิน และสนุกสนานเท่านั้น..:)


ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จากอินเตอร์เนต...

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมืองงามสามวัง(จบ)


       หลังจากชม เขาวัง และ  พระราชวังบ้านปืน ในตัวเมืองเพชรบุรี แล้วก็เดินทางต่อเพื่อไปชมวัง(ที่สาม)  ที่อยู่ติดชายทะเลของเพชรบุรี..ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางขอแวะสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ชายหาดชะอำ น่าจะมีความเป็นมาตามข้อมูลที่ว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามชายฝั่งทะเลของเพชรบุรีตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ เพชรบุรีจนถึง อ.บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว ๒๐๐ ก.ม.ว่า
" ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช "


        เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย ตรงหลัก กม.ที่ ๒๑๖ เป็น พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระราชวังฤดูร้อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น ณ ตำบลห้วยทรายเหนือ (ปัจจุบัน คือ ตำบลชะอำ) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ทรงพระราชทานนามว่า “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ด้วยมีพระราชประสงค์จะรักษาความหมายของชื่อเดิม “ห้วยทราย” ซึ่งเป็นพื้นที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าประเภทเนื้อทราย กวาง หรือที่ในภาษามคธ เรียกว่า “มฤค”




 "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" เป็นอาคารไม้ สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง แบบเรือนไทยผสมยุโรป ใต้ถุนสูง หมู่พระที่นั่งแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ฝ่ายในและฝ่ายหน้า
          หมู่พระที่นั่งฝ่ายใน ประกอบด้วย พระที่นั่งพิศาลสาคร ของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา และที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก ห้องเสวยฝ่ายใน ท้องพระโรงฝ่ายใน ห้องคุณท้าววรคณานันท์ ห้องข้าหลวงภูษา และมีอาคารเชื่อมต่อไปยังศาลาลงสรงฝ่ายในที่ริมหาด
           หมู่พระที่นั่งฝ่ายหน้า ประกอบด้วย พระที่นั่งสมุทรพิมาน มีสองหมู่ คือหมู่เดิมด้านในเป็นประทับของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ระหว่างมีพระครรภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีและหมู่ใหม่ด้านหน้า เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาคารหลังใหญ่สุดทรงใช้เป็นห้องบรรทมห้องแต่งพระองค์ ห้องทรงพระอักษร และห้องสรง ส่วนห้องเสวยฝ่ายหน้า เรือนผู้สำเร็จราชการ เรือนมหาดเล็กและมีอาคารเชื่อมต่อไปยังศาลาลงสรงฝ่ายหน้าที่ริมหาด ถัดออกมาทางด้านเหนือ เป็นพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารสองชั้น มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดโล่ง ทั้งชั้นล่างและชั้นบนทรงใช้เป็นโรงละครและที่ชุมนุมในโอกาสต่างๆ...

                                                           หมู่พระที่นั่งฝ่ายใน






หมู่พระที่นั่งฝ่ายหน้า



............................


พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.๖ 


บ้านเจ้าพระยารามราฆพ


ชายหาดหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน มองเห็นศาลาลงสรงฝ่ายในและฝ่ายหน้า(มีเสาสีขาวบนหลังคา)
...........................
นิทรรศการแสดงความเป็นอยู่ของข้าราชบริพาร
ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน







..........................
ภูมิปัญญาไทย ป้องกันมดและแมลงขึ้นบนหมู่พระที่นั่ง
โคนเสามีร่องสำหรับใส่น้ำ



ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ...